• Skip to main content
  • Skip to secondary menu
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to footer
Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

  • Home
  • Activity
    • News
    • Events
  • Articles
    • Articles
    • Intrend
    • Focus
    • Special Scoop
    • Special Area
    • เรื่องเล่าคนทำกล่อง
  • E-Book
  • E-Directory
  • About Us
  • Advertise
  • Contact Us

ความยั่งยืนกุญแจสำคัญของการรักษาคนเก่งในสายงานการผลิต

October 21, 2021 by ThaiPackMagazine

โดย มินลี่ จ้าว รองผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายอุตสาหกรรมผู้บริโภค แผนก Performance Materials บีเอเอสเอฟ ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

มินลี่ จ้าว รองผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายอุตสาหกรรมผู้บริโภคแผนก Performance Materials บีเอเอสเอฟ ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

สำหรับธุรกิจ การริเริ่มด้านความยั่งยืนเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลในแง่การเงิน เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้นเมื่อจะตัดสินใจซื้อ จากผลสำรวจของฮอตไวร์แสดงให้เห็นว่าเกือบครึ่ง (47%) ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกหยุดใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่บริษัทผู้ผลิตดำเนินงานขัดต่อค่านิยมส่วนตัวของพวกตน โดยพบว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหัวข้อที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญสูงสุด

ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับองค์กรก็คือพนักงาน พนักงานเริ่มมีความกล้าที่จะนำค่านิยมส่วนตัวมาใช้ที่ทำงาน และบริษัทที่ไม่ให้ความเคารพแก่ค่านิยมเหล่านั้นก็เสี่ยงที่จะถูกมองในแง่ลบในฐานะนายจ้าง (ซึ่งเป็นความกังวลหลักในอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาขาดแคลนผู้มีทักษะความสามารถ) ล่าสุด แมคคินซี่ได้มีการเผยแพร่บทความเรื่อง “ช่วยให้พนักงานของคุณค้นพบเจตนารมณ์ของเขา หรือไม่ก็รอดูพวกเขาเดินจากไป” ซึ่งเพียงชื่อบทความก็สามารถสรุปประเด็นได้ทันที

ในบทความดังกล่าว บรรดาผู้เขียนอภิปรายถึงวิธีที่องค์กรและผู้นำองค์กรสามารถช่วยให้พนักงานมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองมีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จในงานที่พวกเราได้รับ ผู้เขียนถกกันว่าบริษัทต่างๆ จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยคำนึงถึงบทบาทขององค์กรในสังคม และมอบ “แนวทางที่มีเป้าหมายเพื่อสะท้อนความพยายามและผลกระทบของบริษัทและผลกระทบ” ให้แก่พนักงาน

รายงานปี 2020 โดยพีคอน (Peakon) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการมีส่วนร่วมของพนักงาน ได้เจาะลึกถึงความคาดหวังและค่านิยมของพนักงาน โดยแสดงให้เห็นว่าความยั่งยืนอยู่ในอันดับต้นๆ หนึ่งในข้อมูลสำคัญที่พบคือการสนทนาของพนักงานในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มขึ้นถึง 52% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พนักงานที่อายุน้อย โดยกลุ่ม Gen Z เพิ่มขึ้น 128% ในขณะที่กลุ่มมิลเลนเนียลยังคงเติบโตถึง 62% ส่วนในระดับอุตสาหกรรม เห็นได้ชัดว่าความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับความยั่งยืนในการใช้วัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต โดยความคิดเห็นของพนักงานในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น 595% ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบหกเท่าเมื่อเทียบกับในภาคส่วนที่ใกล้เคียงที่สุดคือฝั่งผู้บริโภคที่มีอัตราเพิ่มขึ้น 106%

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของดิฉัน เนื่องจากฉันทำงานในบริษัทที่จัดหาสารเคมีและวัตถุดิบเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึงการผลิตรองเท้า ทำให้ดิฉันได้พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานท่านหนึ่งจากบีเอเอสเอฟในหัวข้อความยั่งยืน คือไซม่อน จ้าว ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายการตลาดระดับภูมิภาคของกลุ่มผลิตภัณฑ์รองเท้ากีฬาและสันทนาการ ในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับแนวโน้มความยั่งยืนที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการผลิต และแนวโน้มเหล่านี้สอดคล้องกับค่านิยมส่วนตัวต่างๆ อย่างไรบ้าง

•การใช้วัสดุชีวภาพ – ผู้ผลิตกำลังมองหาวัสดุชีวภาพมากขึ้น โดยวัสดุจะต้องไม่ลดทอนประสิทธิภาพหรือคุณภาพ เพื่อนร่วมงานของฉันเน้นย้ำถึงความภาคภูมิใจในการลงทุนของบริษัทของเราในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวัสดุ อย่างเช่น น้ำมันพืชหรือน้ำมันละหุ่งที่มีปริมาณไบโอคาร์บอนที่สามารถแปลงได้ ทำให้เกิดแนวคิดความสมดุลทางชีวมวลซึ่งช่วยขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน

• การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ – หลายบริษัทให้คำมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ สำหรับบีเอเอสเอฟ สิ่งนี้รวมถึงแผนการลงทุนมูลค่าสูงสุด 4 พันล้านยูโรภายในทศวรรษข้างหน้าในการบรรลุเป้าหมายนี้ผ่านเทคโนโลยี รวมถึงการปรับปรุงโรงงานผลิตและการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน นี่ยังหมายถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น หนังเทียม อย่างแฮ็ปเท็ก (Haptex) ซึ่งจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง 30% และใช้พลังงานน้อยลง 25% ในกระบวนการผลิตเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หนังพียู ที่ใช้น้ำมันหรือทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย (solvent-based) แบบดั้งเดิม

• ยุคแห่งการรีไซเคิล – ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่ผลิตขึ้นภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งนอกจากการใช้วัสดุชีวภาพแล้ว ยังมีแนวคิดเรื่องความสมดุลของมวลสารยังได้รับความนิยมอีกด้วย แนวคิดดังกล่าวหมายถึงการรีไซเคิลพลาสติกหรือขยะอินทรีย์และใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น เพื่อลดความจำเป็นในการใช้วัตถุดิบตั้งต้นจากฟอสซิล เพื่อให้ฟอสซิลยังคงอยู่ใต้พื้นดิน

การได้พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานท่านนี้หลายต่อหลายครั้ง ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการที่บริษัทลงทุนด้านการสร้างความยั่งยืนช่วยให้พนักงานได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายจากงาน และองค์กรจะไม่รู้สึกโดดเดี่ยวบนเส้นทางนี้ ความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงต่อความยั่งยืนมีประโยชน์ทั้งในด้านรายได้และกลยุทธ์การรักษาบุคลากรที่มีความสามารถในสายผลิตและแบรนด์ อีกทั้งยังสร้างวงจรเชิงบวกที่องค์กรสามารถให้คำตอบเกี่ยวกับข้อกังวลด้านความยั่งยืนแก่พนักงาน ซึ่งเป็นผู้ที่จะช่วยบริษัทพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ยั่งยืนในรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ

facebookShare on Facebook
TwitterTweet

Filed Under: Articles Tagged With: บีเอเอสเอฟ ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก, มินลี่ จ้าว, สายงานการผลิต

Primary Sidebar

New E-Book

THAI PACKAGING NEWSLETTER #171 May-June 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #170 March-April 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #169 January-February 2025

  • Facebook

ADVERTISING

Footer

Exclusive Clients

Recent

  • Aluminium Loop ร่วมกับ Green2Get – ลุงซาเล้งฯ ทำแคมเปญ “Can Heroes: ฮีโร่กระป๋องรักษ์โลก” July 11, 2025
  • “โคคา-โคล่า” ชวนผู้บริโภคร่วมโครงการ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ปีที่ 5 ลุ้นรางวัลกว่า 2 ล้านบาท July 9, 2025
  • วว. จับมือ NEO นำ วทน. ขับเคลื่อนเครือข่ายจัดการขยะแบบองค์รวม มุ่งลดปัญหาสิ่งแวดล้อม July 8, 2025
  • พันธมิตรหนุน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ขยายงาน ProPak Asia สู่ระดับโลก ล่าสุดประกาศย้ายงานฯ ไป อิมแพ็ค เมืองทองธานี July 7, 2025
  • เริ่มต้นสร้างแบรนด์บนบรรจุภัณฑ์อย่างไร: คู่มือสำหรับธุรกิจใหม่ (1) July 4, 2025
  • ปรับงานให้ปัง!!! ศิลปะการให้และรับ Feedback สำหรับนักออกแบบ July 2, 2025
  • มุ่งสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และขับเคลื่อนอนาคตของภูมิภาคเอเชียแป-ซิฟิก June 27, 2025

Search

TECHNOLOGY MEDIA CO.,LTD.

471/3-4 Phayathai Place, Sri-Ayutthaya Road, Tung Phayathai Ratchatewi, Bangkok 10400

Tel. 0-2354-5333, 0-2644-4555

thaipackaging.mkt@gmail.com

Copyright © 2025 · Magazine Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in