
กลุ่มธุรกิจ TCP ผู้นำตลาดฟังก์ชันนัลดริงก์ไทย เปิดตัว แมนซั่ม สูตรใหม่ใน ขวด rPET บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก แบรนด์แรกและครั้งแรกในไทย โดยผลิตจาก rPET หรือพลาสติกรีไซเคิล ที่สามารถนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ต่อได้อีก ใน “แมนซั่ม คอลลาเจน สูตรน้ำตาลน้อย” ชวนคนรุ่นใหม่ให้ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

มัลลิกา เหลืองนิมิตรมาศ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประเทศไทย กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า กว่า 12 ปี ที่แมนซั่มครองความเป็นผู้นำตลาดฟังก์ชันัลดริงก์สำหรับผู้ชาย เรามีจุดยืนชัดเจนที่พร้อมสนับสนุนให้ผู้ชายทุกคนดูดีในสไตล์ของตัวเอง ไม่เพียงแค่นั้น เรายังสนับสนุนการทำความดีทั้งเพื่อตัวเองและเพื่อโลก ปีนี้เราจึงพัฒนาไปอีกขั้น ด้วยความพยายามในการลดปริมาณพลาสติกใหม่ (Virgin Plastic PET) ในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ด้วยการเลือกใช้พลาสติกรีไซเคิล เปลี่ยนพลาสติกที่ใช้แล้วให้กลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก มอบความใส่ใจโลกกว่าเดิมตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง แมนซั่ม ขวด rPET จึงก้าวสู่อีกขั้นของการสนับสนุนความดูดีพร้อมช่วยโลกใบนี้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
แมนซั่ม คอลลาเจน สูตรน้ำตาลน้อย มาในบรรจุภัณฑ์ใหม่ ขวด rPET (Recycled Polyethylene Terephthalate) ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล Post-Consumer Recycled PET หรือ PCR PET ในสัดส่วน 30% โดยทำจากพลาสติกรีไซเคิลจากขวดพลาสติก PET ซึ่งเป็นหนึ่งในพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่มแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง นำมาผ่านเทคโนโลยีการรีไซเคิลจนเป็นพลาสติกรีไซเคิล Food Grade ที่สามารถนำมาใส่น้ำและอาหารได้อย่างปลอดภัย มีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด สำหรับการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 57.7% เมื่อเทียบกับการผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ (Virgin Plastic PET) อีกด้วย
อีกทั้งบนฉลากบรรจุภัณฑ์ แมนซั่ม มีข้อความ “โปรดรีไซเคิล” เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริโภคแยกบรรจุภัณฑ์ก่อนทิ้งเพื่อนำกลับเข้าสู่ระบบรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการการขยะแบบครบวงจร ตามความมุ่งมั่นของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่ต้องการส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน ด้วยการเลือกใช้วัสดุและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่สายกรีนและส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการปกป้องโลกใบนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืน ทั้งด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้รีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2567 และผลักดันธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2593 ไปพร้อมกันทั่วโลก