เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย โดย มานิตย์ กมลสุวรรณ นายกสมาคม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ วิวัฒน์ อุตสาหจิต และ ภัทรา คุณวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการ เป็นผู้แทนส่งมอบเครื่องช่วยหายใจความดันบวกสองระดับ (BiPAP) รุ่น Philips Respironics BiPAP A40 สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 4 เครื่อง มูลค่ารวม 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วย) ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากการบริจาคจองคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ และสมาชิกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย โดยจะบริจาคให้แก่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 โดยมี พรมพร เหลืองหิรัญ ผู้จัดการฝ่ายตลาด บริษัท ออมนิแคร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ดังกล่าว รับมอบแทน เพื่อเตรียมนำเครื่องส่งไปที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตในลำดับต่อไป




สำหรับเครื่องช่วยหายใจความดันบวกสองระดับ (BiPAP) รุ่น Philips Respironics BiPAP A40 นั้นเป็นเครื่องช่วยหายใจแบบแรงดันสองระดับ โดยใช้ร่วมกับหน้ากากช่วยหายใจ (noninvasive) หรือร่วมกับท่อช่วยหายใจได้ (Invasive ventilation) สามารถเลือกโหมดเพิ่มเติมให้เครื่องช่วยหายใจพร้อมระบบปรับแรงดันตามสภาพปอด Average volume assured pressure support (AVAPS) โดยสามารถตั้งปริมาตราอากาศหายใจที่ต้องการได้ อีกทั้งยังสามารถเลือกฟังก์ชั่นเพิ่มเติมในกรณีใช้โหมด Average volume assured pressure support (AVAPS) โดยสามารถเลือกให้เครื่องปรังแรงดันบวกในขณะหายใจออกได้โดยอัตโนมัติ (AVAPS AE) และในกรณีที่ตั้งอัตราการหายใจเป็น Auto เครื่องจะปรับตั้งอัตราการหายใจสำรอง (Back up breath rate) เป็นแบบอัตโนมัติขึ้นอยู่กับอัตราการหายใจเองของผู้ป่วย เป็นเครื่องช่วยหายใจที่สามารถผลิตอากาศอัดได้จากภายในตัวเครื่องเองด้วย Blower และยังสามารถใช้งานจากไฟฟ้า 220 โวลต์ 50 เฮิรตซ์ มีแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้นาน 5 ชั่วโมง (ในกรณีที่ตั้ง IPAP 12 cmH2O/EPAP 7 cmH2O และอัตราการหายใจที่ 12 ครั้งต่อนาที) ตัวเครื่องมีขนาดเบาสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายมีน้ำหนักเพียง 2.1 กิโลกรัม สามารถเก็บข้อมูลค่า Parameter ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยหายใจลงใน SD card ได้
คุณสมบัติทางเทคนิค นั้นคือ
- สามารถตั้งแรงดันหายใจเข้า ได้ตั้งแต่ 4.40 เซนติเมตรน้ำ
- สามารถตั้งแรงดันหายใจออก ได้ตั้งแต่ 4-25 เซนติเมตร
- สามารถตั้งปริมาตรอากาศหายใจเข้าแต่ละครั้ง ได้ 200-1,500 มิลลิลิตร-ในกรณีที่ใช้โหมด AVAPS
- สามารถตั้งอัตราการหายใจ ได้ 0-40 ครั้งต่อนาทีหรือ 4-40 ครั้งต่อนาทีใน T mode
- สามารถตั้งเวลาในการหายใจเข้าได้ตั้งแต่ 0.5-3.0 วินาที
- สามารถตั้งอัตราการเร่งของก๊าซ ขณะเริ่มหายใจเข้า ได้ 1 (100ms)-6(600ms)
- มีระบบ Digital Auto Trak โดยเครื่องสามารถปรับตั้งค่าต่าง ๆ ต่อไปนี้ได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่ Advance leak compensation, Automatic trigger, Automatic cycle เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจร่วมกับเครื่องได้เป็นอย่างดีและยังสามารถแสดงค่าต่าง ๆ ได้ดังนี้
- แสดงค่าแรงดัน (pressure)
- แสดงค่าของปริมาตรการหายใจในแต่ละครั้ง (Tidal Volume)
- แสดงค่าของลมหายใจต่อนาที (Minute Ventilation)
- แสดงอัตราการหายใจ (Respiratory rate)
- แสดงอัตราการรั่วของระบบหายใจ (Leak)
- แสดงค่าสัดส่วนหายใจเข้าต่อหายใจออก (I:E ratio)
- สามารถแสดงสัญญาณเตือน ในกรณีดังต่อไปนี้
- เมื่อมีการหลุดของสายช่วยหายใจ (Patient disconnection)
- เมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจ Apnea
- ปริมาตรอากาศหายใจเข้าต่อนาทีต่ำกว่าที่กำหนด (Low minute ventilation)
- ปริมาตรอากาศหายใจเข้าแต่ละครั้งต่ำกว่าที่กำหนด (Low tidal volume) ในโหมด AVAPS
- อัตราการหายใจสูงกว่าที่กำหนด (High respiratory rate)
อุปกรณ์ประกอบการใช้งานต่อ 1 เครื่อง ประกอบด้วย
- ชุดสายช่วยหายใจ 1 ชุด
- หน้ากากช่วยหายใจพร้อมสายรัดหน้ากาก ชนิดครอบปากและจมูก 1 ชุด
- แบตเตอรี่ 1 ก้อน
- รถเข็นสำหรับวางเครื่อง (ผลิตในประเทศไทย) 1 คัน
- คู่มือการใช้งาน 1ชุด
ดังนั้นการใช้เครื่องช่วยหายใจความดันบวกสองระดับ จะนำไปใช้กับผู้ป่วยภาวการณ์หายใจความดันล้มเหลว ที่ไม่จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการใส่ท่อช่วยหายใจ หรือใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ระยะหย่าเครื่องช่วยหายใจใน ICU เพราะฉะนั้นสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย พร้อมสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการร่วมกันปกป้องพี่น้องชาวไทยให้ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และเป็นกำลังใจให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา บริษัท ออมนิแคร์ จำกัด ได้ทำการส่งมอบเครื่องช่วยหายใจความดันบวกสองระดับ (BiPAP) รุ่น Philips Respironics BiPAP A40 สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มูลค่า 1,000,000 บาท จำนวน 4 เครื่อง ให้แก่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โดยมี แพทย์หญิง ศุภลักษณ์ ละอองเพชร รองผู้อำนวยการ (ฝ่ายการแพทย์) เป็นผู้แทนผู้รับมอบอย่างเป็นทางการ