จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมและธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปและ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ผู้จัดงานโพรแพ็ค เอเชีย(Propack Asia) จึงได้ร่วมมือกันจัดเสวนาออนไลน์ (Webinar) ขึ้น ในหัวข้อ “อุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วงวิกฤตCOVID-19” ในวันพฤหัสบดี ที่ 28 เมษายน 2563 ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้และช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในการลดผลกระทบ ลดความเสี่ยง พร้อมนำเสนอถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจฝ่าวิกฤตในขณะนี้ รวมถึงเปิดมุมมองความคิดในการสร้างโอกาส การต่อยอด และการเติบโตทางธุรกิจภายหลังวิกฤตโควิด-19

โดยการเสวนาฯ ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก วิศิษฐ์ลิ้มลือชาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำของประเทศไทย มาเป็นผู้ให้ความรู้และแนวทางการรับมือกับวิกฤตในครั้งนี้
วิศิษฐ์ลิ้มลือชาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า The Kitchen of the world เป็นนโยบายสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งเป็นข้อดีทำให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตอาหารของไทยทั้งหลายพยายามที่จะพัฒนา พยายามที่จะหาวิธีการต่าง ๆ มาพัฒนาในเรื่องของการผลิตอาหาร หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการพัฒนารูปแบบการบริโภคที่มีความหลากหลาย อีกทั้งยังสามรถเก็บรักษาคุณภาพสินค้าอาหารได้เป็นอย่างดี
“ในช่วงเวลา10 ปีที่ผ่านมานั้นในแต่ละปีเรามีอัตราการเฉลี่ยการเติบโตของอาหารค่อนข้างดีประเทศไทยเป็นอันดับที่11 ของโลกในการส่งอออาหารทั่วโลกและเป็นอันดับที่2 ในการส่งออกอาหารในเอเชียและในปี2562 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกที่32.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือกว่า1 ล้านล้านบาทไทยในขณะที่มูลค่าภายในประเทศคือ2 ล้านล้านบาทอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยอยู่ที่1% ในส่วนของอัตราการเติบโตของอาหารกระป๋องในบ้านเราตอนนี้มีการเติบโตที่ดีขึ้นเนื่องจากมีการกักตัวอยู่ที่บ้านจึงทำให้อัตราในส่วนของอาหารกระป๋องนั้นเติบโตขึ้นอย่างมาก”
ดังนั้น กำลังการผลิตในแต่ละอุตสาหกรรมอยู่ที่ 50-70% ของกำลังการผลิตทั้งหมด หากกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้นภาพรวมของประเทศไทยถือว่ามีความสามารถผลิตอหารได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ ที่สามารถปลูกจากพื้นแผ่นดินเองได้ ในส่วนของปศุสัตว์ ได้แก่ ไก่ หมู เนื้อ ก็ยังสามารถผลิตออกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง แต่ยังมีอีกส่วนอื่น ๆ ที่ประเทศไทยยังคงต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ ประเภทอาหารทะเลบางชนิด และพืชบางชนิดที่ประเทศไทยนั้นสามารถปลูกเองได้แต่อาจจะได้ผลผลิตที่ไม่มากพอ ได้แก่ ข้าวสาลี แป้งข้าวสาลี ถั่วเหลือง เป็นต้น อย่างถั่วเหลืองในประเทศไทยมีการปลูกปีละ 300,000 -600,000 ตันต่อปี แต่เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 2-3 ล้านตันต่อปี ยังไม่รวมกากถั่วเหลืองที่นำมาเป็นอาหารสัตว์ด้วย โดยมีการใช้ในปริมาณ 2–3 ล้านตันต่อปีด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะมีข้อดีในการเพาะปลูกพืชบางชนิด แต่พืชในอุตสากรรมบางชนิดก็ยังต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ในสัดส่วนวัตถุดิบที่ประเทศไทยสามารถผลิตเองได้นั้นถือว่ามีเยอะกว่าอัตราการนำเข้าในส่วนตรงนี้ถือเป็นจุดเด่นของอุตสาหกรรมอาหารประเทศไทย
อัตราการส่งออกในปี 2558 – 2562 มูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือว่ามีอัตราการเติบโตประมาณปีละ 4% ต่อปี อันนี้เป็นรูปแบบของเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งในแต่ละปีอัตราแลกเปลี่ยนไม่เหมือนกัน ส่วนมูลค่าการนำเข้าอาหารก็ประมาณ 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือว่ามีอัตราการเติบโตโดยประมาณ 5% ต่อปี ส่วนการบริโภคในประเทศนั้นอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท เป็นตัวเลขที่มีการนับรวมนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยในแต่ละปี ส่วนต้นปี 2020 จะมีนักท่องเที่ยวลดลงไป แต่ในสถานการณ์ปกตินั้นมีการบริโภค 2 ล้านล้านบาท ส่งออกอีก 1 ล้านล้านบาท ตัวเลขของนักท่องเที่ยวในปี 2020 จะมีผลต่อตัวเลข
วิศิษฐ์กล่าวเพิ่มเติมว่า “อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าในบางสินค้ามีขายที่เพิ่มขึ้นอาทิเช่น สินค้าที่คนซื้อกลับไปทานที่บ้านซื้อไปเก็บ ไปปรุงอาหารที่บ้านแต่ในส่วนของภัตตาคารร้านอาหารใหญ่ ๆที่จากเดิมนั้นมีการนั่งรับประทานที่ร้านในส่วนตรงนี้ยอดลดลงไปเลยอย่างในโรงแรมก็เช่นกันเพราะฉะนั้นผู้ผลิตเองที่เป็นผู้ผลิตอาหารส่งสินค้าให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนแต่ถ้ามีการปรับตัวมาขายให้กับผู้บริโภคที่นำไปขายในsupermarket ที่ให้ผู้บริโภคนั้นซื้อนำกลับไปทานเองที่บ้านหรือปรับเปลี่ยนมีรูปแบบDelivery ก็จะเป็นการช่วยให้ไม่มีการlayoff พนักงานอีกด้วยเพราะฉะนั้นในช่วงวิกฤตแบบนี้การปรับตัวนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากๆ”
นอกจากนี้สิ่งที่ผู้บริโภคมีความกังวลและให้ความสำคัญมากที่สุดในขณะนี้เป็นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร ผู้บริโภคต้องการความเชื่อมั่นว่า ผู้ผลิต ร้านอาหาร และบริการส่งอาหารออนไลน์ ได้ใส่ใจเรื่องสุขอนามัยอย่างจริงจังเพื่อที่จะป้องกันการปนเปื้อนของไวรัสในอาหาร เพื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเรื่องนี้ ผู้ประกอบการควรที่จะมีมาตรการการดูแลสุขอนามัยที่เข้มงวดและมาตรการตรวจวัดการปนเปื้อนในอาหาร เพื่อสามารถทำให้มั่นใจได้ว่าความปลอดภัยด้านอาหารว่าจะสิ่งเจอปนไปกับอาหารที่ถูกส่งไปยังผู้บริโภค ดังนั้นเรื่องของบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ในการบรรจุอาหารเพื่อที่จะรักษาคุณภาพของอาหารและเก็บรักษาได้ในระยะเวลาที่นานขึ้น โดยประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดนั้นก็คือ
- กระดาษมี 35% – 46% หรือ ปริมาณ 2.1-2.2 ล้านตันต่อปี
- พลาสติก 17% – 28% หรือ ปริมาณ 1.0 – 1.3 ล้านตันต่อปี
- แก้ว 18% – 41% หรือ ปริมาณ 0.8 – 2.5 ล้านตันต่อปี
- โลหะ 6% – 8% หรือ ปริมาณ 3.2 – 4.6 แสนตันต่อปี
ทั้งนี้ มีการนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ ประเทศจีนเป็นประเทศนำเข้าหลักของบรรจุภัณฑ์ไทย รองลงมาได้แก่ประเทศไต้หวัน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย เพราะฉะนั้นปัญหาของการนำเข้าของบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบมมากนักเนื่องจากประเทศไทยมีการนำเข้าบรรจุภัณฑ์หลายประเทศ
สุดท้ายวิศิษฐ์กล่าวสรุปว่า “ในส่วนการปรับตัวของผู้ประกอบการทางด้านอาหรเมื่อมีการปรับเปลี่ยนหันมาส่งแบบDelivery ความสำคัญที่ผู้ประกอบการควรที่จะตระหนักถึงคือเรื่องของบรรจุภัณฑ์ในการบรรจุอาหารเพื่อการจัดส่งอย่างมีคุณภาพและเป็นการรักษาประสิทธิของอาหารอีกด้วยเนื่องด้วยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจึงทำให้ผู้บริโภคมีความระและเป็นกังวงต่อความปลอดภัยความสะอาดของอาหารเป็นอย่างมากว่าอาหารนั้นได้มีการบรรจุอย่างสะอาดปลอดภัยจากเชื้อไวรัสหรือไม่ดังนั้นผู้ประกอบการจากเดิมที่มีการนั่งรับประทานที่ร้านและเมื่อเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการจัดส่งแบบDelivery ในจุดตรงนี้ควรคำนึงและให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องบรรจุภัณฑ์และคุณภาพของอาหารสดที่นำมาปรุงอาหารควรที่จะสะอาดสด ปลอดภัย เมื่อถึงมือผู้บริโภค”
เพราะฉะนั้น การที่ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มปฏิบัติการรักษาระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing ในวิกฤตเช่นนี้ ธุรกิจอาหารต้องเริ่มดำเนินการปรับตัวจากการหยุดชะงักของภาวะเศรษฐกิจที่ไม่สามารถคาดเดาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจอาหารท้องถิ่นและธุรกิจกลาง-เล็ก (SMEs) ที่ไม่ได้มีเครือข่ายความปลอดภัยรองรับจากการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทต่างชาติ เจ้าของธุรกิจในไทยจึงต้องเริ่มมองหาทางออกเพื่อให้ยังสามารถดำเนินธุรกิจท่ามกลางวิกฤตในครั้งนี้ โดยสามารภเริ่มต้นได้จากการรักษาพนักงานไว้กับองค์กร การลงทะเบียนการบริการส่งอาหารในช่องทางออนไลน์เพื่อขยายช่องทางในการทำธุรกิจ การมีมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารที่เข้มงวด วิกฤตการณ์ในครั้งนี้จึงถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ เริ่มมีการปรับตัวและการพัฒนาธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น