• Skip to main content
  • Skip to secondary menu
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to footer
Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

  • Home
  • Activity
    • News
    • Events
  • Articles
    • Articles
    • Intrend
    • Focus
    • Special Scoop
    • Special Area
    • เรื่องเล่าคนทำกล่อง
  • E-Book
  • E-Directory
  • About Us
  • Advertise
  • Contact Us

การรีไซเคิลของพลาสติกสำหรับใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารในสหรัฐอเมริกา

May 11, 2020 by ThaiPackMagazine

สุมาลี ทั่งพิริยะกุล

ในฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงแนวทางของการรีไซเคิลของภาชนะบรรจุอาหารหรือเรียกว่าวัสดุบรรจุอาหาร (Food Contact Material) ของสหภาพยุโรปไปแล้ว ซึ่งกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกเพื่อใช้ทำวัสดุสัมผัสอาหารของสหภาพยุโรปเป็นการบังคับและยอมให้สัดส่วนของรีไซเคิล PET ที่เป็น Non-Food Contact มีได้ไม่เกิน 5% ของวัตถุดิบทั้งหมด สำหรับองค์การอาหารและยา (US. Food and Drug Administration,FDA) ในสหรัฐอเมริการีไซเคิลพลาสติกซึ่งเป็นหน่วยงานประเมินความปลอดภัยของรีไซเคิลพลาสติก ไม่ได้กำหนดอัตราส่วนของวัตถุดิบเริ่มต้นของขวดที่ใช้บรรจุอาหาร (Post Consumer) กับขวดที่ใส่ผิดประเภท (Misuse) แต่มีข้อควรระวังเกี่ยวกับวัตถุดิบคือ สารเคมีที่เป็นอันตรายที่ต้องระวังเรื่องความปลอดภัยในกระบวนการรีไซเคิล(Chemical Substances of Safety Concern) คือสารเคมีที่เกิดจากนำขวดที่ใช้บรรจุอาหารแล้วนำไปใช้สารที่ไม่ใช่อาหารและเป็นอันตราย (Misuse) เช่น ยาฆ่าแมลง สารละลายที่ไม่สามารถบริโภคได้ สารเคมีที่ใช้ในบ้าน เป็นต้น สารเติมแต่งที่มีอยู่ในขวดแล้วหรือสารเติมแต่งที่จำเป็นต้องเติมลงไปเพื่อให้สมบัติของพลาสติกรีไซเคิลดีขึ้น

เมื่อ US.FDA รับคำร้องและทบทวนกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกแล้วว่าสามารถกำจัดสารปนเปื้อนจน PET หรือพลาสติกที่ต้องการรีไซเคิลมีสมบัติเทียบเท่าพลาสติกใหม่ ( Virgin Plastic) ที่กำหนดใน 21CFR 177. XXXX กระบวนการรีไซเคิลพลาสติก จะออกจดหมาย “No Objection Letter” ให้ผู้ประกอบการที่ยื่นคำร้อง ซึ่งจดหมายดังกล่าวไม่มีผลตามกฎหมาย

สหรัฐอเมริกาได้พัฒนากระบวนการรีไซเคิลพลาสติกจากพลาสติกที่เคยใช้บรรจุอาหารแล้ว (Post-Consumer Plastic Food Container) ใช้ใส่ลูกเบอรี่ หรือ รีไซเคิล PET ซึ่งขวด rPET ขนาด 2 ลิตรเป็นขวดรีไซเคิลชนิดแรกที่ผลิตขึ้นใน คศ.1990 หลังจากนั้นในสามสิบปีที่ผ่านมา US.FDA ได้ทำการประเมินกระบวนการรีไซเคิลมากกว่า 200 กระบวนการส่วนใหญ่เป็นพลาสติก PET รายละเอียดของพลาสติกที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลของสหรับอเมริกา ท่านสามารถศึกษาได้จาก

ในขณะนี้ US.FDA ได้ออกจดหมาย “No Objection Letter” แล้ว 220 ผู้ประกอบการประกอบด้วยการรีไซเคิลพลาสติกชนิดต่าง ๆ ได้แก่ PET, HDPE, LDPE และ PS เมื่อท่านเข้าไปสืบค้นจะได้รายละเอียดของผู้ยื่นคำขอ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  1. รายละเอียดของกระบวนการรีไซเคิล
  2. ผลการทดสอบ (surrogate test ) ที่แสดงว่ากระบวนการรีไซเคิลตามข้อ1. สามารถกำจัดสารปนเปื้อนออกจากพลาสติกที่นำมารีไวเคิลจนสามารถใช้แทนพลาสติกใหม่ได้ (Virgin Plastic)
  3. รายละเอียดของการนำไปใช้ได้แก่อุณหภูมิ ประเภทของอาหาร เช่น อาหารมีไขมัน อาหารที่เป็นกรด เป็นต้น

ประเภทของกระบวนการรีไซเคิล

  1. Primary recycling ใช้พลาสติกที่เคยบรรจุอาหารแล้ว เศษพลาสติกจากอุตสาหกรรม (Post Industrial Scrap) นำมาผลิตภาชนะบรรจุอาหารใหม่ตามกระบวนการผลิตที่เป็นไปตามหลักที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice,GMP)
  2. Secondary recycling เป็นกระบวนการรีไซเคิลทางกายภาพ (Physical Processing) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนต่าง ๆ เช่น
    • ล้างด้วยสารละลายด่าง สารซักฟอก (Detergent) เป็นต้น
    • ทำให้แห้ง (Drying)
    • นำมาหลอมใหม่ (Re-melting โดย Extrusion)
    • นำมาขึ้นรูปใหม่ (Re-forming)
  3. Tertiary recycling เป็นกระบวนการรีไซเคิลโดยใช้กระบวนทางเคมี (Chemical Processing) เช่น ไฮโดรไรซิส (Hydrolysis) สำหรับ กระบวนการ Methanolysis และ Glycolysis จะใช้กับ PET และPolyethylene Napthalate (PEN) ซึ่งประกอบด้วย
    • Depolymerization คือการทำให้โพลิเมอร์ของพลาสติกที่เคยบรรจุอาหารแล้วแตกเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ คือเป็นโมโนเมอร์ หรือ โอลิโกเมอร์
    • Purification ทำให้วัสดุที่ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นบริสุทธิ์
    • Repolymerization นำสารเริ่มต้นมาโพลิเมอไรซ์ใหม่

พลาสติกรีไซเคิลที่สำร็จเรียบร้อย (Finished Recycled Plastics)

พลาสติกรีไซเคิลและสารเติมแต่งต้องมีสมบัติและเกณฑ์ที่กำหนด (Specification And Limitation) เป็นไปตามที่ได้อนุญาตแล้วตามแต่ละชนิดของพลาสติก ได้แก่ สารที่ระบุใน

  • 21 CFR174-179
  • สารที่ผ่านกระบวนการอนุญาตตาม Food Contact Substances Notification (FCN)
  • Threshold of Regulation (TOR) Exemption (21 CFR 170.39)*

พลาสติกที่รีไซเคิลแล้วต้องมีสมบัติไม่ต่างจากพลาสติกใหม่ (Virgin Material)

facebookShare on Facebook
TwitterTweet

Filed Under: Articles, Articles

Primary Sidebar

New E-Book

THAI PACKAGING NEWSLETTER #171 May-June 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #170 March-April 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #169 January-February 2025

  • Facebook

ADVERTISING

Footer

Exclusive Clients

Recent

  • มุ่งสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และขับเคลื่อนอนาคตของภูมิภาคเอเชียแป-ซิฟิก June 27, 2025
  • เอปสัน เปิดตัวเครื่องพิมพ์ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลและโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน June 27, 2025
  • “Future Food” เจาะลึกเทรนด์ ‘อาหารแห่งอนาคต’ พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำจากไต้หวัน June 27, 2025
  • เริ่มแล้ว! “สหกรุ๊ป แฟร์ & เฟส ครั้งที่ 29” มหกรรมช็อปคุ้ม ลดค่าครองชีพ ช็อปออนไซต์ที่ไบเทค ออนไลน์ที่ BIGXSHOW และ FRIDAY FAIR พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเอ็มโอยู 16 ดีลใหญ่ June 27, 2025
  • กรมวิทย์ฯ จัดสัมมนา การทำความเข้าใจและการพัฒนาแนวทางการจัดการปัญหาสาร PFAS ในประเทศไทย เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน June 26, 2025
  • เมสเซ่ฯ ชี้ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ไทยโตแรง รับกระแสส่งด่วน-อีคอมเมิร์ซ เตรียมเปิดเวทีโชว์นวัตกรรมในงาน “Pack Print International 2025” June 25, 2025
  • อินฟอร์มา เดินหน้าย้าย ProPak Asia 2026 ไป อิมแพ็ค เมืองทองธานี ขยายพื้นที่ใหญ่ขึ้น 30% ตั้งเป้าปี 2028 ขึ้นเป็นงานระดับโลกของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ June 24, 2025

Search

TECHNOLOGY MEDIA CO.,LTD.

471/3-4 Phayathai Place, Sri-Ayutthaya Road, Tung Phayathai Ratchatewi, Bangkok 10400

Tel. 0-2354-5333, 0-2644-4555

thaipackaging.mkt@gmail.com

Copyright © 2025 · Magazine Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in