• Skip to main content
  • Skip to secondary menu
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to footer
Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

  • Home
  • Activity
    • News
    • Events
  • Articles
    • Articles
    • Intrend
    • Focus
    • Special Scoop
    • Special Area
    • เรื่องเล่าคนทำกล่อง
  • E-Book
  • E-Directory
  • About Us
  • Advertise
  • Contact Us

ร่างแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ. 2563-2565)

March 9, 2021 by ThaiPackMagazine

กองบรรณาธิการ

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 คณะรัฐมนตรีได้ประชุมร่วมกัน และในที่ประชุมได้มีการสรุปสาระสำคัญในหลายๆ หัวข้อ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อนั้นมีการสรุป (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) มีรายละเอียดที่สำคัญ ๆ หลายประการ

โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอดังนี้

  1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 พ.ศ. 2563-2565) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ต้องเร่งดำเนินการ ภายใต้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573
  2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตาม (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ โดยสาระสำคัญของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการดำเนินงานร่วมกันจากทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่สำคัญและต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในช่วง 3 ปีแรก (ปี พ.ศ. 2563-2565)

ส่วนวิสัยทัศน์นั้นก็เพื่อก้าวสู่การจัดการพลาสติกที่ยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน (Moving Towards Sustainable Plastic Management by Circular Economy)

ส่วนกรอบแนวคิดมี 5 หลักกรอบแนวคิด ประกอบด้วย

  1. หลักการจัดการพลาสติกตลอดวงจรชีวิต (Life Cycle) ตั้งแต่การจัดการพลาสติกในขั้นตอนการออกแบบและการผลิต โดยการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Design) การจัดการพลาสติกในขั้นตอนการบริโภค และการจัดการพลาสติกหลังการบริโภค
  2. หลักการ 3R ประกอบด้วย การลดการใช้ (Reduce) ที่แหล่งกำเนิดในขั้นตอน การออกแบบ การผลิต และการบริโภค โดยการลดปริมาณการใช้ลงโดยใช้เท่าที่จำเป็น การใช้ซ้ำ (Reuse) โดยการนำของเสีย บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้อีกโดยไม่แปรรูปหรือแปรสภาพ และการนำมาแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) เป็นการนำขยะรีไซเคิล ของเสีย บรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต หรือเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
  3. หลักการมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน (Public Private Partnership) โดยทุกภาคส่วนต้องเข้ามารับรู้และมีส่วนร่วมในการจัดการขยะพลาสติก
  4. หลักการว่าด้วยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การจัดการขยะพลาสติกให้เกิดความยั่งยืน มุ่งเน้นให้มีการสร้างของเสียที่ต่ำที่สุดหรือไม่มีเลย ด้วยการนำพลาสติกกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
  5. หลักการผู้ผลิตมีส่วนร่วม (Responsible Consumption and Production) โดยผู้ผลิตมีส่วนร่วมในการจัดการขยะพลาสติก เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ใช้หลักการที่ถือว่าต้นทุนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการผลิตเป็นต้นทุนของสินค้าด้วย ผู้ประกอบการจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการของเสียที่เกิดจากสินค้า

ส่วนเป้าหมายนั้นมี 2 เป้าหมายสำคัญ คือ เป้าหมายที่ 1คือการลด เลิกใช้พลาสติกเป้าหมาย ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยละ 100 ภายใน พ.ศ. 2565 ได้แก่

  • ถุงพลาสติกหูหิ้ว ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน
  • กล่องโฟมบรรจุอาหาร ไม่รวมถึงโฟมที่ใช้กันกระแทกในภาคอุตสาหกรรม
  • แก้วพลาสติก ความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน และ
  • หลอดพลาสติก ยกเว้นการใช้กรณีจำเป็น ได้แก่ การใช้ในเด็ก คนชรา ผู้ป่วย เป็นต้น (ในปีฐาน พ.ศ. 2562 รวมการใช้พลาสติก 3 ประเภทอยู่ที่ 384,024 ตัน ส่วนใหญ่เป็นถุงพลาสติกหูหิ้ว)

ส่วนเป้าหมายที่ 2 คือการนำพลาสติกเป้าหมายกลับไปใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพลาสติกเป้าหมายภายใน พ.ศ. 2565 ได้แก่

  • ถุงพลาสติกหูหิ้ว (HDPE, LLDPE, LDPE และ PP)
  • บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว (HDPE และ LL/LDPE)
  • ขวดพลาสติก (ทุกชนิด)
  • ฝาขวด
  • แก้วพลาสติก
  • ถาด/กล่องอาหาร และ
  • ช้อน/ส้อม/มีด (ในปีฐาน พ.ศ. 2562 รวมการใช้พลาสติก 7 ประเภทอยู่ที่ 1,341,668 ตัน เป้าหมายนำกลับไปใช้ประโยชน์ร้อยละ 50 หรืออยู่ที่ 670,834 ตัน)

ซึ่งการดำเนินการต่าง ๆ จำป็นต้องมีมาตรการที่กำหนดไว้เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุตามเป้าหมาย โดยมาตรการที่กำหนดมีดังนี้

1. มาตรการลดการเกิดขยะพลาสติก ณ แหล่งกำเนิด โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมการเกิดของเสียตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต โดยการออกแบบ/ผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Design) ลดปริมาณสารพิษในผลิตภัณฑ์ เลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ รับผิดชอบของเสียที่เกิดจากสินค้าของตนเอง ผลักดันให้มีการปรับปรุงพัฒนามาตรฐานการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบฉลากสิ่งแวดล้อม การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพลาสติก และมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลพลาสติกให้เป็นมาตรฐานเดียวกันที่สามารถเชื่อมโยงทั้งประเทศ

2. มาตรการลด เลิกใช้พลาสติก ณ ขั้นตอนการบริโภค โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน โดยเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการบริโภคที่เหมาะสม โดยเฉพาะการลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (SUP) ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่สามารถนำกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

3. มาตรการจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ส่งเสริมให้ประชาชนลดและคัดแยกขยะ ส่งเสริมให้มีการนำขยะพลาสติกมาผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) การส่งเสริมให้อุตสาหกรรมบางประเภทต้องใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลพลาสติก และจัดหาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนั้นได้กำหนดกลไกการขับเคลื่อนให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย

  1. สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสาระสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือการประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารขององค์กรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  2. การสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินงานในทุกระดับ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้แก่ หน่วยงานราชการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค
  3. การใช้เครื่องมือและกลไกต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ได้แก่
    • (1) มาตรการทางการเงินการคลัง โดยอาจเป็นเงินงบประมาณจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่ เงินลงทุนจากภาคเอกชน เงินกองทุนสิ่งแวดล้อมทั้งในและต่างประเทศ และงบประมาณแผ่นดิน
    • (2) การสร้างแรงจูงใจ ด้วยการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ และการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งเครื่องมือทางสังคมเพื่อสนับสนุนการเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
    • (3) การสนับสนุนการวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบการจัดการ ระบบฐานข้อมูล นวัตกรรมในการจัดการขยะพลาสติกทั้งบนบกและทะเล
    • (4) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อการป้องกันขยะบกลงสู่ทะเล และ
    • (5) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือเร่งออกกฎระเบียบข้อบังคับ

ส่วนหน่วยงานขับเคลื่อนนั้น ประกอบด้วย 5 หน่วยงานสำคัญ ได้แก่

  1. หน่วยงานกลาง ประกอบด้วย ทส. กค. พณ. กระทรวงอุตสาหกรรม มท. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และสำนักนายกรัฐมนตรี (กรมประชาสัมพันธ์) เป็นหน่วยงานหลัก
  2. หน่วยงานระดับพื้นที่ ประกอบด้วย จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินงานขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานในการจัดการขยะพลาสติกในระดับจังหวัด และรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการดำเนินงานของจังหวัดมายังหน่วยงานกลาง
  3. ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ประกอบการธุรกิจ
  4. องค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organizations: NGOs) ได้แก่ สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)
  5. ผู้บริโภค

จากรายละเอียดต่าง ๆ ที่กำหนดมานี้ ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ การลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องนำไปกำจัดได้ประมาณ 0.78 ล้านตันต่อปี และประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ประมาณ 3,900 ล้านบาทต่อปี ประหยัดพื้นที่รองรับพื้นที่ฝังกลบและกำจัดขยะมูลฝอยพลาสติกได้ประมาณ 2,500 ไร่ โดยการคัดแยกและนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่จะสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 1.2 ล้านตันนั่นเอง

facebookShare on Facebook
TwitterTweet

Filed Under: Articles, Intrend

Primary Sidebar

New E-Book

THAI PACKAGING NEWSLETTER #171 May-June 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #170 March-April 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #169 January-February 2025

  • Facebook

ADVERTISING

Footer

Exclusive Clients

Recent

  • ปรับงานให้ปัง!!! ศิลปะการให้และรับ Feedback สำหรับนักออกแบบ July 2, 2025
  • มุ่งสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และขับเคลื่อนอนาคตของภูมิภาคเอเชียแป-ซิฟิก June 27, 2025
  • เอปสัน เปิดตัวเครื่องพิมพ์ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลและโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน June 27, 2025
  • “Future Food” เจาะลึกเทรนด์ ‘อาหารแห่งอนาคต’ พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำจากไต้หวัน June 27, 2025
  • เริ่มแล้ว! “สหกรุ๊ป แฟร์ & เฟส ครั้งที่ 29” มหกรรมช็อปคุ้ม ลดค่าครองชีพ ช็อปออนไซต์ที่ไบเทค ออนไลน์ที่ BIGXSHOW และ FRIDAY FAIR พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเอ็มโอยู 16 ดีลใหญ่ June 27, 2025
  • กรมวิทย์ฯ จัดสัมมนา การทำความเข้าใจและการพัฒนาแนวทางการจัดการปัญหาสาร PFAS ในประเทศไทย เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน June 26, 2025
  • เมสเซ่ฯ ชี้ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ไทยโตแรง รับกระแสส่งด่วน-อีคอมเมิร์ซ เตรียมเปิดเวทีโชว์นวัตกรรมในงาน “Pack Print International 2025” June 25, 2025

Search

TECHNOLOGY MEDIA CO.,LTD.

471/3-4 Phayathai Place, Sri-Ayutthaya Road, Tung Phayathai Ratchatewi, Bangkok 10400

Tel. 0-2354-5333, 0-2644-4555

thaipackaging.mkt@gmail.com

Copyright © 2025 · Magazine Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in