• Skip to main content
  • Skip to secondary menu
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to footer
Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

  • Home
  • Activity
    • News
    • Events
  • Articles
    • Articles
    • Intrend
    • Focus
    • Special Scoop
    • Special Area
    • เรื่องเล่าคนทำกล่อง
  • E-Book
  • E-Directory
  • About Us
  • Advertise
  • Contact Us

ไทยยูเนี่ยนเปิดศูนย์นวัตกรรม Innovation Hub ในยุโรป เทคโนโลยีจัดเต็ม พร้อมมุ่งวิจัยผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สำหรับแบรนด์

October 1, 2024 by Chatticha

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดศูนย์นวัตกรรม Innovation Hub ณ เมืองวาเกนิงเงน ประเทศเนเธอร์แลนด์ อย่างเป็นทางการ เพื่อขยายบริษัทให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในด้านนวัตกรรมระดับโลก โดยศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้ ประกอบด้วย นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการและบรรจุภัณฑ์ นักโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทสัมผัส และนักพัฒนานวัตกรรมกว่า 40 คน ซึ่งจะมุ่งวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สำหรับแบรนด์อาหารทะเลบรรจุกระป๋องครอบคลุมทั้งหมดของกลุ่มไทยยูเนี่ยน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคได้สินค้าที่มีคุณภาพ รสชาติอร่อย ได้คุณค่าทางโภชนาการอย่างยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับไทยยูเนี่ยนและศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน (Global Innovation Center หรือ GIC) ในกรุงเทพฯ

ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ศูนย์นวัตกรรมแห่งใหม่ที่เนเธอร์แลนด์นี้ นับเป็นการสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรมระดับโลกให้กับไทยยูเนี่ยน Global Innovation Center (GIC) โดยมุ้งเน้นการวิจัยในการใช้ประโยนช์และเพิ่มคุณค่าของวัตถุดิบซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญซึ่งจะสร้างประโยชน์โดยตรงต่อศูนย์นวัตกรรม Innovation Hub เพื่อให้ตอบสนองต่อตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผ่านความร่วมมือกับแบรนด์ต่าง ๆ ลูกค้าและผู้บริโภค ซึ่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมควบคู่ไปกับการให้ความใส่ใจในด้านความยั่งยืน SeaChange® 2030 จะสร้างความแตกต่างและเป็นกำลังสำคัญให้ผลิตภัณฑ์ของสามารถครองใจผู้บริโภคได้

แพทริค ทาซิญอง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนวัตกรรมอาหารทะเลแปรรูป บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเหตุผลในการเลือกเมืองวาเกนิงเงนให้เป็นที่ตั้งของศูนย์นวัตกรรมว่าเพราะเป็นเมืองที่มีความเป็นเลิศและมีความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการที่ตั้งใจที่จะบูรณาการความร่วมมือ ความรู้ และสปิริตของนักสร้างสรรค์นวัตกรรมทั้งจากมหาวิทยาลัยวาเกนิงเงนเพื่อการวิจัยสตาร์ทอัพ และบริษัทต่าง ๆ มาเป็นแรงบันดาลใจในการคิดค้นนวัตกรรมที่ล้ำสมัย เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการจากทะเลระดับโลก

ศาสตราจารย์เอลเลน แคมป์แมน ประธานสาขาวิชาโภชนาการและสุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยและการวิจัยวาเกนิงเงน กล่าวว่า มหาวิทยาลัยและการวิจัยวาเกนิงเงน เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งด้านโภชนาการและวิทยาศาสตร์อาหารของยุโรป ที่สามารถดึงดูดให้บริษัทฯ ชั้นนำด้านอาหารหลายแห่งตัดสินใจมาตั้งศูนย์นวัตกรรมที่นี่ พวกเราขอต้อนรับไทยยูเนี่ยน บริษัทผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ของโลกสู่เมืองวาเกนิงเงน เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าด้วยความพร้อมและความตั้งใจของพวกเราเมื่อผสานความร่วมมือกับไทยยูเนี่ยนจะสามารถสร้างสรรผลงานวิจัยและพัฒนาโภชนาการดีจากท้องทะเลไปด้วยกัน

ศูนย์นวัตกรรม Innovation Hub ได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ของไทยยูเนี่ยน ภายในศูนย์นวัตกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นสูงเพื่อสนับสนุนกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นการวิจัยคิดค้นคอนเซปต์ ตลอดจนนำเสนอสินค้าสู่ตลาด ได้แก่

  • จัดตั้งโรงงานต้นแบบ (Pilot plant) โดยจำลองจากโรงงานเต็มรูปแบบของไทยยูเนี่ยน ออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการติดตั้งอุปกรณ์นวัตกรรมใหม่ ๆ ช่วยให้ทีมสามารถออกแบบ ทดลอง และทดสอบนวัตกรรมได้อย่างเต็มที่
  • ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ (Analytical lab) ที่ติดตั้งด้วยเครื่องมือทดสอบทางกายภาพและเคมีที่มีความแม่นยำสูงเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไทยยูเนี่ยน
  • ห้องปฏิบัติการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging lab) สำหรับการพัฒนาแนวคิด การสร้างต้นแบบ และการทดสอบวัสดุและฟังก์ชันการทำงาน
  • ห้องปฏิบัติการประสาทสัมผัส (Sensory lab) ที่มาพร้อมโซนประสาทสัมผัส สามารถควบคุมแสงสว่างและการระบายอากาศได้ตามปัจจัยที่ต้องการ เพื่อให้ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของไทยยูเนี่ยนสามารถประเมินการรับรู้และการตอบสนองของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมไทยยูเนี่ยนได้ดียิ่งขึ้น
  • User experience kitchen ไว้ต้อนรับและสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้บริโภค พร้อมสังเกตการณ์ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมนอกจากนี้ ยังมี Co-Creationระหว่างเชฟ ลูกค้า และแบรนด์ เพื่อพัฒนาอาหารต้นแบบร่วมกัน
  • ผลงานจากศูนย์นวัตกรรม Innovation Hub ที่เปิดตัวสู่สาธารณะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ นวัตกรรม ECOTWIST® ของแบรนด์ John West ซึ่งเป็นนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ปฏิวัติวงการออกแบบ ครั้งสำคัญในสหราชอาณาจักร โดยสามารถบรรจุปลาทูน่าได้ในปริมาณเท่าเดิมในกระป๋องที่ออกแบบใหม่ให้เบากว่า ลดการใช้เหล็กได้กว่า 400 ตันต่อปี ลดวัตถุดิบส่วนประกอบได้1,500 ตัน ลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกได้ 65 ตันต่อปี และลดการใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษได้ถึง 300 ตันต่อปี

ที่มา: https://www.thaiunion.com/th

facebookShare on Facebook
TwitterTweet

Filed Under: Activity, News Tagged With: food, ไทยยูเนี่ยน, ศูนย์นวัตกรรม Innovation Hub, Innovation Hub, แบรนด์อาหารทะเล, อาหารทะเล, seafood, บรรจุภัณฑ์, packaging, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

Primary Sidebar

New E-Book

THAI PACKAGING NEWSLETTER #170 March-April 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #169 January-February 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #168 November-December 2024

  • Facebook

ADVERTISING

Footer

Exclusive Clients

Recent

  • สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทยพาผู้ประกอบการเปิดโลกเทคโนโลยีระดับโลกในงาน China Print 2025 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน May 23, 2025
  • เอปสันคว้ารางวัลการออกแบบระดับโลกปี 2025 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและดีไซน์ระดับสากล May 23, 2025
  • การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยแนวคิดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน May 22, 2025
  • วว. มอบเครื่องคัดแยกขวดพลาสติกและกระป๋อง ผลักดันนโยบายขับเคลื่อนการจัดการของเสียเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ May 22, 2025
  • DITP เสริมแผนจราจร–รถไฟฟ้า–จุดจอดรถ รับงาน “THAIFEX – ANUGA ASIA 2025”แนะใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพู ลงสถานี “อิมแพ็ค เมืองทองธานี” และ “ทะเลสาบเมืองทองธานี” เชื่อมต่อสะดวก ถึงพื้นที่งานได้อย่างรวดเร็ว May 21, 2025
  • Dow ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยด้วยนวัตกรรมลดคาร์บอน ชู “ฉลากลดโลกร้อน” ผลิตภัณฑ์สไตรีนโมโนเมอร์ และโพลีสไตรีน May 20, 2025
  • วว. พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำนมธัญพืชเสริมน้ำผลมะม่วงหิมพานต์ May 16, 2025

Search

TECHNOLOGY MEDIA CO.,LTD.

471/3-4 Phayathai Place, Sri-Ayutthaya Road, Tung Phayathai Ratchatewi, Bangkok 10400

Tel. 0-2354-5333, 0-2644-4555

thaipackaging.mkt@gmail.com

Copyright © 2025 · Magazine Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in