• Skip to main content
  • Skip to secondary menu
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to footer
Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

  • Home
  • Activity
    • News
    • Events
  • Articles
    • Articles
    • Intrend
    • Focus
    • Special Scoop
    • Special Area
    • เรื่องเล่าคนทำกล่อง
  • E-Book
  • E-Directory
  • About Us
  • Advertise
  • Contact Us

Digital Tansfer on Label-การตกแต่งฉลากแบบดิจิทัล

June 25, 2021 by admin

บุญชัย เลาหะธีระพงษ์

เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้การผลิตจากระบบ Digital Printing ยังคงเป็นกระแสที่มาแรงไม่ตก โรงพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมาก็ได้ลงเครื่องพิมพ์ Digital กันมากขึ้นเรื่อย ๆ และก็มีสินค้าต่าง ๆ ในท้องตลาดที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากการพิมพ์ Digital เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรจุภัณฑ์แบบขวด ที่มีทั้งฉลากกาว (Pressure Sensitive Label) หรือฉลากฟิล์มหด (Shrink Sleeve Label) มีความสวยงาม แปลกใหม่หลากหลายรูป หรือแต่ละชิ้นลวดลายไม่เหมือนกันก็มี

แม้ว่าเทคนิคการทำฉลากด้วย Digital Printing เหล่านี้จะสวยงามแค่ไหน ก็ยังคงมีคำถามต่ออีกว่า จะตกแต่งหลังการพิมพ์ให้ดูพรีเมี่ยมขึ้นไปอีกบนฉลากเหล่านี้ได้อย่างไร วันนี้บทความของเราจึงจะกล่าวถึงเทคนิคที่เรียกว่า DIGITAL METAL® ซึ่งเป็นกระบวนการทำ Digital Transfer ลงบนฉลากได้ต่อเนื่องไปกับงาน Digital Printing
ที่เราเรียกว่า Digital Transfer ก็เพราะเป็นการติดฟอยล์สีเงิน สีรุ้ง โฮโลแกรมต่าง ๆ ลงไปบนฉลากด้วยวิธีการแบบ Digital ซึ่งต่างจากวิธีการแบบดั้งเดิมที่เป็นที่รู้จักอย่างการปั๊มฟอยล์ (Hot Stamping) หรือการใช้โคลด์ฟอยล์ (Cold Transfer)
Digital Transfer นั้นมีหลักการคล้ายกับ Digital Printing คือ ไม่ต้องมีแม่พิมพ์ที่ตายตัว สามารถทำงานระยะสั้น จำนวนไม่มากได้ และชิ้นงานแต่ละชิ้นยังแตกต่างกันได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ฉลากที่มีชื่อประเทศต่าง ๆ กันไป ตั้งแต่ ROME, LONDON, NEW YORK, BERLIN, ฯลฯ และชื่อเหล่านี้ตกแต่งด้วย Digital Transfer สีทองประกายเมทัลลิค

ส่วนสำคัญของการทำ Digital Transfer นี้คือการใช้เครื่องจักรที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ โดยตัวอย่างที่จะยกมาในวันนี้คือ การพิมพ์ฉลากด้วย Digital Printing ด้วยเครื่อง HP Indigo WS6800 ที่เชื่อมต่อกับเครื่อง Digital Transfer ที่เรียกว่า DM-JETLINER ที่ใช้งานจริงแล้วที่โรงพิมพ์ All4Labels ที่ประเทศเยอรมนี โดย Mr.Roger Gehrke (Executive Vice President ของบริษัท All4Labels) ได้กล่าวถึงการใช้ Digital Printing + Digital Transfer ไว้อย่างน่าสนใจหลายประเด็น

ประเด็นแรกคือ การตกแต่งฉลากด้วยฟอยล์สีเมทัลลิคต่าง ๆ บนการพิมพ์ Digital สามารถทำได้อยู่แล้วด้วยการใช้โคลด์ฟอยล์ติดลงบนฉลากก่อนด้วยเครื่องพิมพ์แบบ Flexo และจึงค่อยนำฉลากมาพิมพ์สีอีกครั้งด้วยเครื่อง Digital Printing แต่ก็มีข้อจำกัดมากมาย เพราะต้องทำงานสองรอบ เสียเวลาเปลี่ยนเครื่อง และใช้เวลานานจึงจะได้งานพิมพ์ฉลากที่สมบูรณ์

แต่เมื่อทาง All4Labels ได้ติดตั้งเครื่อง DM-JETLINER เข้ากับเครื่องพิมพ์ HP Indigo WS6800 ก็สามารถเพิ่มความคล่องตัวและความเร็วในงานพิมพ์ฉลากได้มากยิ่งขึ้น โดยงานแรกที่ทาง All4Labels เริ่มผลิตฉลากด้วยเครื่องทั้ง2ตัวนี้ เกิดขึ้นเมื่อกลางปี ค.ศ. 2019 ซึ่งเดิมทีได้วางแผนที่จะใช้การพิมพ์แบบ Offset และตกแต่งฟอยล์ด้วยโคลด์ฟอยล์ เนื่องจากเป็นงานโปรเจ็กต์ที่มีจำนวนมาก

แต่เมื่อลูกค้าต้องการเลื่อนแผนการออกสินค้าให้เร็วขึ้น และต้องการฉลากจาก All4Labels ให้เร็วขึ้น All4Labels จึงตัดสินใจที่จะใช้เครื่อง Digital Printing + Digital Transfer แทน ผลที่ได้คือสามารถส่งมอบฉลากได้เร็วก่อนกำหนด และทำให้สินค้าใหม่ออกวางตลาดได้อย่างรวดเร็วขึ้น ลูกค้าของ All4Labels ยอมที่จะจ่ายค่าพิมพ์ที่แพงขึ้น แต่ก็คุ้มค่ากับแผนการบุกตลาดของสินค้าใหม่ (Cost vs Time-to-Market)

DM-JETLINER ให้ความเร็วสูงสุดในการติดฟอยล์ด้วยความเร็ว 75เมตร/นาที ซึ่งเป็นความเร็วที่เทียบเท่ากันกับ Digital Printing ทำให้ทั้งกระบวนการพิมพ์ฉลากทั้งหมดมีความต่อเนื่อง ไม่เกิดคอขวดในการทำงานหลังพิมพ์ และผลลัพธ์ของฟอยล์ที่ได้ออกมาเทียบเท่ากันกับการใช้โคลด์ฟอยล์

Mr.Roger Gehrke กล่าวว่า Time-to-Market หรือระยะเวลาในการออกสู่ตลาด หรือระยะเวลาในการตอบสนองต่อตลาด เป็นจุดขายสำคัญของงานพิมพ์ Digital ทั้งระบบ บางครั้งลูกค้าของเขามักจะคิดว่า การผลิตฉลากแบบ Digital

จะต้องราคาถูกกว่าแต่เขากลับตอบว่าส่วนใหญ่แล้วราคาสูงต่ำขึ้นอยู่กับจำนวนและความยากง่ายของงาน และ Digital Printing มักไม่ถูกกว่าการพิมพ์แบบเดิม แต่ต้นทุนรวมในธุรกิจทั้งหมดของลูกค้าจะต่ำลงไปได้ และให้มูลค่าตอบแทนทางธุรกิจได้มากกว่า เพราะความยืดหยุ่น ความรวดเร็ว ของการผลิตแบบ Digital

“ในโลกที่หมุนเร็วขึ้นทุกวัน การพิมพ์ดูเหมือนจะกลายเป็นธุรกิจดั้งเดิม (Traditional Business) ไปเสียแล้ว โรงพิมพ์จึงต้องวิวัฒนาการและมองไปข้างหน้า เพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน การใช้เทคโนโลยี Digital Printing + Digital Transfer เป็นอีกก้าวหนึ่งของการวิวัฒนาการนี้” Mr.Roger Gehrke จาก All4Labels ได้กล่าวไว้

ก่อนจากกันไปในฉบับนี้ ขอฝากภาพตัวอย่างงานฉลากที่ใช้เทคโนโลยี HP Indigo WS6800 + DM-JETLINER ไว้ให้ดูกันเป็นไอเดีย และหากท่านผู้อ่านมีคำถามหรือต้องการข้อมูลและตัวอย่างเพิ่มเติม สามารถติดต่อกับทาง KURZ (Thailand) Ltd. ได้ครับ

facebookShare on Facebook
TwitterTweet

Filed Under: Articles, Special Area Tagged With: บุญชัย เลาหะธีระพงษ์, igital Printing

Primary Sidebar

New E-Book

THAI PACKAGING NEWSLETTER #158 March-April 2023

THAI PACKAGING NEWSLETTER #157 January-February 2023

THAI PACKAGING NEWSLETTER #156 November-December 2022

  • Facebook
  • Instagram
  • Twitter
  • YouTube

ADVERTISING

Footer

Exclusive Clients

Recent

  • The power of partnerships: BOBST innovations showcased by key partners at interpack 2023 March 24, 2023
  • DITP ประกาศจัดงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2023 ยิ่งใหญ่กว่าเดิมบนพื้นที่กว่า 130,000 ตร.ม. สร้างโอกาสทางการค้าได้มากกว่าเดิมกับผู้แสดงสินค้ากว่า 40 ประเทศ March 23, 2023
  • เตรียมพบกับงานแฟร์ครั้งยิ่งใหญ่ THAIFEX-Anuga Asia 2023 March 22, 2023
  • เฟ้นหาสุดยอดนวัตกร สร้างสรรค์นวัตกรรม กับการประกวด “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2566” March 21, 2023
  • THAI PACKAGING NEWSLETTER #158 March-April 2023 March 17, 2023
  • “เบทาโกร” เปิดตัวโรงงานอาหารสัตว์หนองบุญมาก ก้าวสู่ Smart Factory แห่งแรก ชูโมเดลต้นแบบนำเทคโนโลยีขับเคลื่อนการผลิตและระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ March 16, 2023
  • ไปรษณีย์ไทย-สมาคมการตลาด เฟ้นหาไอเดียสุดเจ๋ง เพื่อสร้างสรรค์ทิศทางแบรนด์ March 14, 2023

Search

TECHNOLOGY MEDIA CO.,LTD.

471/3-4 Phayathai Place, Sri-Ayutthaya Road, Tung Phayathai Ratchatewi, Bangkok 10400

Tel. 0-2354-5333, 0-2644-4555

thaipackaging.mkt@gmail.com

Copyright © 2023 · Magazine Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in