• Skip to main content
  • Skip to secondary menu
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to footer
Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

  • Home
  • Activity
    • News
    • Events
  • Articles
    • Articles
    • Intrend
    • Focus
    • Special Scoop
    • Special Area
    • เรื่องเล่าคนทำกล่อง
  • E-Book
  • E-Directory
  • About Us
  • Advertise
  • Contact Us

การตกแต่งแพคเกจจิ้งด้วย Stamping Foil เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ?

July 31, 2020 by admin

ในปัจุบันแบรนด์สินค้าระดับโลกต่างๆ หันมาให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงได้พัฒนาปรับปรุงแพคเกจจิ้งที่ใช้ให้สามารถลดขยะของเสียลงอย่างมากที่สุด ภาคอุตสาหกรรมแพคเกจจิ้งเองก็มีความตื่นตัวอย่างมากที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดียังมีหลายต่อหลายเรื่องที่ยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และแสวงหาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เป็นทางออก เพื่อที่จะทำให้ แพคเกจจิ้งยังสวยงามอยู่ แต่ในขณะเดียวกับก็ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

บทความนี้จึงจะขอเล่าถึง “การตกแต่งแพคเกจจิ้งด้วยการใช้ Stamping Foil” (หรือภาษาไทยเรียกกันว่าการปั้มฟอยล์) ว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และ สามารถนำไป Recycle ได้หรือไม่ ?

ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า “Stamping Foil” ที่เราพูดถึงอยู่ มีองค์ประกอบหลักอะไรบ้าง และแต่ละองค์ประกอบมีคุณลักษณะและหน้าที่อะไรบ้าง

  • ฟิล์มพลาสติก PET หนาราวๆ 12-16 ไมครอน ซึ่งฟิล์มนี้ทำหน้าที่เพียง “นำพา” ชั้นแลคเกอร์และสีเงาๆ ไปติดลงบนผิววัสดุต่างๆเท่านั้น ฟิล์มพลาสติกนี้จะถูกลอก และแยกออกจากแพคเกจจิ้งโดยสิ้นเชิง โดยโรงงานแพคเกจจิ้งที่ใช้ฟอยล์นี้ก็จะคัดแยกฟิล์มที่เหลือไปเป็นขยะอุตสาหกรรมเพื่อนำไปย่อยสลายต่อไป โดยในหลายประเทศมีการนำฟิล์มพลาสติกนี้ไปเผาเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม และในปัจจุบันประเทศชั้นนำในยุโรปยังมีการค้นคว้าในการนำฟิล์มพลาสติกนี้กลับมาใช้ใหม่อยู่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ฟิล์มฟอยล์นี้จะไม่ติดไปกับแพคเกจจิ้ง ไม่ถึงมือผู้ซื้อสินค้า และลงสู่งถังขยะทั่วไปอย่างแน่นอน
  • อีกส่วนหนึ่งของ Stamping Foil ก็คือ ส่วนที่ลอกออกไปติดลงบนแพคเกจจิ้ง ที่เราจะเห็นได้ว่ามีสีสันต่างๆ ทั้งเงิน ทอง หรือ เมทัลลิค รวมไปถึงลายโฮโลแกรมต่างๆ ส่วนนี้มีความหนาเพียง 0.02ไมครอนเท่านั้น (1ไมครอน = 1/1000มิลลิเมตร) และถึงแม้ว่าฟอยล์เงาๆนี้อยู่บนแพคเกจจิ้งในพื้นที่กว้างเกือบทั้งชิ้นก็ตาม ปริมาณ(น้ำหนักหรือมวล) ของเนื้อฟอยล์นี้เป็นเพียงสัดส่วนเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกันกับแพคเกจจิ้งทั้งชิ้น

Stamping Foil ที่ติดลงไปบนแพคเกจจิ้งนั้น ส่วนประกอบย่อยของมันที่เป็นตัวที่ทำให้เกิดประกายเงาเสมือนโลหะนี้ คือ อลูมิเนียม (Aluminium) และเจ้าอลูมิเนียมนี้เองที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่า เป็นตัวร้ายที่ทำลายสิ่งแวดล้อมหากนำมาใช้กับแพจเกจจิ้ง แต่จากการศึกษา ทดลอง และได้รับการยอมรับแล้วจากหลายสถาบันทางวิทยาศาสตร์ ชี้ให้เห็นว่า Stamping Foil ที่ติดลงไปบนแพจเกจจิ้งนั้น ไม่ส่งผลกระกบกับสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด เนื่องจาก แพคเกจจิ้งที่ตกแต่งด้วยฟอยล์ สามารถนำไปเข้ากระบวนการ Recycle ได้

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นขวดพลาสติก PP ที่ถูกตกแต่งด้วย Stamping Foil ด้วยพื้นที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของขวด แต่เมื่อพิจารณาถึงมวลของขวดนี้พบว่าขวดนี้มีมวลราว 4 กรัม เนื้อฟอยล์นั้นมีมวล 0.01กรัม (0.4%ของมวลรวมของขวด) เมื่อนำขวดตัวอย่างนี้ไป recycle พบว่าพลาสติกทั้งหมด100% สามารถนำไปรีไซเคิลได้ (การทดสอบนี้จัดทำโดย Institute cyclos-HTP GmbH ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยอิสระในเยอรมนี)

ในกรณีของกล่องกระดาษแพคเกจจิ้ง ที่มีสีเมทัลลิกแวววาวที่ตกแต่งด้วยการใช้ Foil นั้นมีการใช้วัสดุที่เป็นฟอยล์ อยู่ 2 ชนิดหลักด้วยกัน หากดูผิวเผินแล้วจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่แท้ที่จริงและองค์ประกอบและการนำไปใช้งานมีความแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้นจึงจะขออธิบายเพิ่มเติมกันพอสังเขปว่าฟอยล์ที่ตกแต่งบนกล่องกระดาษนี้มีชนิดใดบ้าง

  • Stamping Foil คือ ฟอยล์ที่ติดลงบนผิวกระดาษด้วยการปั้ม hot stamping แล้วลอกฟิลม์ฟอยล์พลาสติกออกไป ไม่ติดไปกับชิ้นงานกระดาษ ในช่วงหลังนี้มีการเรียกการใช้ฟอยล์ประเภทนี้ว่า Dry Transfer Decoration หรือ Thin Layer Decoration เพื่อเน้นว่าเป็นการติดชั้นสีลงไปเท่านั้น ไม่มีการติดฟิล์มฟอยล์พลาสติกลงบนผิวกระดาษ
  • Laminating Foil คือ ฟอยล์ที่ติดลงบนผิวกระดาษโดยการรีดด้วยความร้อน ตัวชั้นสีเมทัลลิคเองรวมไปถึงชั้นฟิล์มฟอยล์พลาสติกจะถูกรีดติดลงไปประกบกันกับกระดาษทั้งแผ่น ข้อดีคือทำให้กระดาษมีความแวววาวแบบเมทัลลิคทั้งแผ่น แต่ต้องแลกมาด้วยการมีพลาสติกติดรวมไปกับกระดาษด้วย

คำถามที่ว่า กล่องกระดาษที่มีการตกแต่งด้วยฟอยล์สีเงิน ทอง เมลทัลลิคต่างๆ สามารถนำไปรีไซเคิลได้หรือไม่ ? คำตอบถือ การใช้ Stamping Foil ตกแต่ง กระดาษยังสามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่หากเป็นการใช้ Laminating Foil นั้นกระดาษกับพลาสติกติดกันอยู่จะไม่สามารถรีไซเคิลได้

ภาพนี้เป็นตัวอย่างกระดาษที่ตกแต่งด้วยฟอยล์ทั้ง 2 ชนิด หากดูเผินๆแล้ว ทั้ง 2 แผ่นมีลักษณะเหมือนกัน คือ พื้นสีฟ้าและมีฟอยล์สีทองวงกลมอยู่ตรงกลาง แต่ความจริงแล้วกระดาษแผ่นบน เป็นการใช้กระดาษที่เคลือบ Laminating Foil สีทองไว้ แล้วพิมพ์สีฟ้าทับ เมื่อทดสอบฉีกกระดาษนี้จะพบว่ามีฟิล์มพลาสติกเคลือบผิวเต็มอยู่ทั้งแผ่น

ในขณะที่กระดาษอีกแผ่นนั้น ใช้ Stamping Foil สีทองติดลงไปบนกระดาษบริเวณวงกลมเท่านั้น และเมื่อฉีกกระดาษออกจนไปถึงบริเวณสีทอง ก็ยังพบว่ากระดาษสามารถฉีกขาดไปตามปกติ นั้นหมายความว่า Stamping Foil นี้มีความบางมาก และไม่มีพลาสติกปะปนอยู่เลย ความบางของ Stamping Foil ที่ติดอยู่บนกระดาษนี้หน้าเพียง 0.02ไมครอน หรือ บางกว่าเส้นผมของมนุษย์ 6,000 เท่า

อย่างไรก็ดี มีความข้อสงสัยอีกประการหนึ่งว่า ขนาดพื้นที่เท่าไหร่ของ Stamping Foil เมื่อติดลงไปบนกล่องกระดาษแล้ว ยังสามารถนำไปรีไซเคิลได้ ?

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจก่อนว่า การนำกล่องกระดาษที่ใช้แล้วไปรีไซเคิลนั้น คือการเปลี่ยนแผ่นกระดาษให้กลายเป็นเนื้อเยื่อกระดาษ โดยการใช้น้ำและสารเคมีเพื่อแยกหมึกรวมไปถึงสารเจือปนอื่นๆบนผิวกระดาษออกจากเยื่อกระดาษ แล้วจึงนำเยื่อกระดาษที่ได้มานั้นไปอัดเป็นแผ่นกระดาษเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ กระบวนการแยกหมึกและสารเจือปนออกจากกระดาษนี้นี้เรียกว่า Deinking (ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น)

แต่ก่อนที่กระดาษจะมาถึงขั้นตอน Deinking จะต้องผ่านกระบวนการคัดแยก (Sorting) ซึ่งโรงงานผลิตกระดาษรีไซเคิลจะใช้เครื่องจักรอัตโนมัติในการช่วยคัดแยกกระดาษ จากภาพนี้จะเป็นเครื่องคัดแยกกระดาษของบริษัท Rowe Nürnberg ที่ประเทศเยอรมนี และเป็นสถานที่ที่ได้ทำการทดสอบการนำกระดาษที่มี Stamping Foil ตกแต่งอยู่มาทดลองคัดแยกด้วยเครื่องอัตโนมัตินี้

โดยกระดาษตัวอย่างจำนวน 12 แผ่น มี Stamping Foil อยู่เป็นปริมาณตั้งแต่ 3% – 100% (surface coverage 3% – 100%) และเมื่อนำไปใส่ลงในกระบวนการคัดแยกกระดาษ พบว่ากระดาษตัวอย่างที่มี Stamping Foil พื้นที่ไม่ถึง 70% ของแผ่นกระดาษ สามารถผ่านกระบวนการคัดแยกกระดาษนี้ไปได้ (ถือเป็นกระดาษที่สามารถนำไป Deinking ได้)

ภาพที่1 : กระดาษตัวอย่างถูกนำไปทิ้งไว้ในกอง
ภาพที่ 2 : กระดาษตัวอย่างวิ่งผ่านสายพานลำเลียงของเครื่องคัดแยก
ภาพที่ 3 : กระดาษตัวอย่างที่มีพื้นที่ Stamping Foil ไม่มีถึง 70% ผ่านการคัดแยกเป็นกระดาษที่เหมาะกับการนำไปรีไซเคิลต่อไป

และเมื่อนำกระดาษที่ผ่านการคัดแยกนี้ไปเข้ากระกวนการ Deinking แล้ว Stamping Foil ที่มีความบาง (หรือมวลขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับมวลของกระดาษ) จะถูกแยกทิ้งไปพร้อมกับหมึก แล้วเยื่อกระดาษสามารถนำไปใช้ใหม่ได้ดี โดยบทความฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงว่ากระดาษที่มี Stamping Foil ตกแต่งอยู่ ได้รับคะแนน Deinkability ที่ 100เต็ม จากการทดสอบโดย INGEDE Office – International Association of the Deinking Industry ประเทศเยอรมนี

มาถึงตรงนี้อาจมีบางท่านที่โต้แย้งว่า ประเทศเยอรมนีมีความทันสมัยในเรื่องเทคโนโลยีและมีมาตรการด้านบริหารจัดการขยะได้ดีกว่าประเทศไทย ถึงได้มีเครื่องมือเครื่องจักรที่คัดแยกกระดาษได้อย่างดี สำหรับประเด็นนี้ถือว่าน่าสนใจอย่างมาก เพราะประเทศเยอรมนีขึ้นชื่อเรื่องนี้จริงๆ เพราะในปัจจุบันประเทศเยอรมนีสามารถนำขยะจำนวนกว่า 67% ไปรีไซเคิลได้ ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีอัตราการรีไซเคิลที่สูงที่สุดในโลก

ดังนั้นหากกล่าวถึงการที่กล่องกระดาษใช้แล้ว จะถูกนำไปรีไซเคิลในประเทศไทยนั้น อัตราการคัดแยกขยะที่มาจากภาครัฐและเอกชนเอง คงไม่ได้สูงเท่ากันกับที่เยอรมันนีเป็นแน่ และมีโอกาสสูงที่ขยะกล่องกระดาษเหล่านี้จะถูกนำไปฝังกลบในดิน จึงทำให้มีการทดสอบ การย่อยสลายในดิน (Composoting) ซึ่งการทดสอบนี้คือการนำกระดาษที่ตกแต่งด้วย Stamping Foil ไปทดสอบฝังกลบในดิน โดยบริษัท DIN Certco ได้ให้ผลรองรับว่า กระดาษที่มีมวล Stamping Foil ที่ไม่เกิน 1% จากมวลรวมของกระดาษ สามารถผ่านการทดสอบว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อการย่อยสลายในดินและไม่มีผลข้างเคียงกับการเจริญเติบโตของพืช

จะเห็นได้ว่า คำถามที่เราตั้งไว้ในตอนแรกว่า

การตกแต่งแพคเกจจิ้งด้วย Stamping Foil เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ? สามารถนำไปรีไซเคิลได้หรือไม่? เราสามารถตอบแยกเป็นประเด็นต่างๆได้หลากหลายประเด็น ทั้งการที่จะต้องแยกประเภท Stamping Foil ออกจาก Laminating Foil , กระดาษที่มี Stamping Foil พื้นที่มากน้อยแค่ไหนถึงจะเป็นกระดาษที่เหมาะสมในการรีไซเคิล และกล่องกระดาษที่มี Stamping Foil อยู่หากไม่ได้นำไปรีไซเคิล แต่ถูกฝังกลบลงในดินจะเป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่

สำหรับ Stamping Foil จาก KURZ นอกจากที่เราจะทำการวิจัยทดสอบในด้านสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียดจากที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความหลายฉบับ ในกระบวนการผลิตที่โรงงานของ KURZ ทั่วโลกเองก็ยังมีมาตรการและแนวปฏิบัติที่ช่วยลดมลภาวะ เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าหมนุเวียน การใช้ของเสียไปเป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และควบคุมน้ำเสียให้เป็นศูนย์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่า Stamping Foil ของเราเป็นวัสดุที่มีคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แพคเกจจิ้งได้ และอยู่คู่กับโลกใบนี้ได้อย่างยั่งยืน…

facebookShare on Facebook
TwitterTweet

Filed Under: Articles, Special Scoop

Primary Sidebar

New E-Book

THAI PACKAGING NEWSLETTER #158 March-April 2023

THAI PACKAGING NEWSLETTER #157 January-February 2023

THAI PACKAGING NEWSLETTER #156 November-December 2022

  • Facebook
  • Instagram
  • Twitter
  • YouTube

ADVERTISING

Footer

Exclusive Clients

Recent

  • ไปรษณีย์ไทย จับมือ J-MAT รวมพลคนรุ่นใหม่ ประลองไอเดียปั้นแบรนด์ไปรษณีย์ไทยสไตล์คน Gen Z March 28, 2023
  • โคนิก้า มินอลต้า ตอกย้ำความเป็นผู้นำแท่นพิมพ์ดิจิตอลสี ด้วยยอดขายอันดับ 1 ในไทยและในอาเซียน ปี 2022 March 28, 2023
  • เอส ไอ จี ฉลองครบรอบ 25 ปี ดำเนินธุรกิจด้วยนวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน March 27, 2023
  • The power of partnerships: BOBST innovations showcased by key partners at interpack 2023 March 24, 2023
  • DITP ประกาศจัดงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2023 ยิ่งใหญ่กว่าเดิมบนพื้นที่กว่า 130,000 ตร.ม. สร้างโอกาสทางการค้าได้มากกว่าเดิมกับผู้แสดงสินค้ากว่า 40 ประเทศ March 23, 2023
  • เตรียมพบกับงานแฟร์ครั้งยิ่งใหญ่ THAIFEX-Anuga Asia 2023 March 22, 2023
  • เฟ้นหาสุดยอดนวัตกร สร้างสรรค์นวัตกรรม กับการประกวด “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2566” March 21, 2023

Search

TECHNOLOGY MEDIA CO.,LTD.

471/3-4 Phayathai Place, Sri-Ayutthaya Road, Tung Phayathai Ratchatewi, Bangkok 10400

Tel. 0-2354-5333, 0-2644-4555

thaipackaging.mkt@gmail.com

Copyright © 2023 · Magazine Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in