• Skip to main content
  • Skip to secondary menu
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to footer
Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

  • Home
  • Activity
    • News
    • Events
  • Articles
    • Articles
    • Intrend
    • Focus
    • Special Scoop
    • Special Area
    • เรื่องเล่าคนทำกล่อง
  • E-Book
  • E-Directory
  • About Us
  • Advertise
  • Contact Us

อุ่นเล่าเรื่อง EP10: Structure Packaging บรรจุภัณฑ์โครงสร้าง

February 29, 2024 by Chatticha

Article
โชตินรินทร์ วิภาดา

อุ่นเล่าเรื่อง บทความแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทาน ที่น่าจะประโยชน์ต่อ SME วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรที่กำลังพัฒนาสินค้าหรือการบริการให้กับคนในชุมชนได้มีอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ซึ่งอาจจะใช้ชื่อ สัญลักษณ์ บุคคลหรือองค์กรเพื่อให้เกิดภาพตัวอย่างที่จับต้องได้ ในความสำเร็จที่เกิดขึ้น เป็นแรงผลักดันให้ SME วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรได้ก้าวต่อไป โดยผู้เขียนไม่มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ใดๆ โดยใน EP10 นี้ จะมาว่าด้วยเรื่องของบรรจุภัณฑ์โครงสร้าง Structure Packaging

3 Chapters ต่อไปนี้ จะคุยกันในเรื่องบรรจุภัณฑ์โครงสร้าง Structure Packaging โดยแบ่งเป็น 3 Chapters ครับ

  • Chapter One: Paper Packaging
    • Corrugated Paper Packaging
    • Bag-in-Box
  • Chapter Two: Plastic Packaging
    • Rigid plastic: Injection & Blow Process: การออกแบบ Thickness & Taper
    • Sheet plastic: Vacuum forming Process
  • Chapter Three: Smart Packaging
    • Traceability Packaging
    • Security Packaging

เรามา Recap ตัวบรรจุภัณฑ์ แบ่งตามการใช้งาน ได้แก่

  • Primary Packaging บรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสสินค้าหรืออาหาร ที่ช่วยปกป้องสินค้าให้ดี มีคุณภาพคงเดิม ไม่แตกหัก
  • Secondary Packaging บรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2 ที่แสดงรายละเอียดและป้องกันสินค้า
  • Tertiary Packaging/Transportation Packaging บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
  • Display Packaging บรรจุภัณฑ์เพื่อการแสดงโชว์ นำเสนอ

หากแบ่งตามหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ได้แก่

  • Aesthetics Packaging บรรจุภัณฑ์ที่เน้นเรื่องความงาม
  • Structure Packaging บรรจุภัณฑ์โครงสร้าง เพื่อความแข็งแรง
  • Smart Packaging บรรจุภัณฑ์ฉลาด เพื่อช่วยในการใช้บรรจุภัณฑ์ได้สะดวก ตรวจสอบได้

เรามาเข้าเรื่อง Structure Packaging บรรจุภัณฑ์โครงสร้างกัน

Chapter One: Paper Packaging

101 บรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก Corrugated Paper Packaging

กระดาษ เป็นวัสดุที่มีมาหลายพันปี เพราะมีน้ำหนักเบา ใช้งานง่าย ราคาถูก จากกระดาษแผ่นบาง ๆ พัฒนามาเป็นกระดาษลูกฟูกเพื่อให้เกิดความแข็งแรงมากขึ้น ใช้ป้องกันสินค้าได้ดีขึ้น และมีพัฒนาการมาตลอดจนถึงขั้นกันน้ำได้ (ระดับหนึ่ง) หากอยากทราบถึงชนิดของกระดาษลูกฟูกว่ามีกี่ประเภท กี่ชั้น สามารถหาข้อมูลใน Internet ได้ และหากให้ดี ควรรู้จุดประสงค์ในการใช้งาน จะได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการ แต่ถ้าหากหาไม่ได้อย่างที่ต้องการ สามารถสอบถามมาได้ที่อีเมล: chodnarinv@gmail.com ครั้งนี้ขอเล่าเฉพาะตัวกล่องกระดาษลูกฟูกและ Cushion ส่วนกันกระแทก โดยไม่ลงข้อมูลระดับพื้นฐาน ขอยกตัวอย่างจริงและอธิบายวิธีคิดของงานนั้น ๆ

กล่องกระดาษลูกฟูก ในปัจจุบันมีการใช้กันเกือบทุกผลิตภัณฑ์ เช่น ใช้ขนส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งกล่องต้องมีความแข็งแรงมากพอในการป้องกันสินค้า เคยมีประสบการณ์จริงในการใช้กล่องลูกฟูกใส่อาหารแช่แข็งสำหรับส่งออก เมื่อเรียงบนตู้คอนเทนเนอร์จนเต็มตู้ แล้วส่งออกไปยังต่างประเทศ กล่องลูกฟูกเกิดยุบตัว มีโอกาสทำให้สินค้าเสียหาย ผิดรูป ทั้ง ๆ ที่มีการคำนวณ Spec กล่องแล้วว่าใช้กระดาษเกรดอะไร ซึ่งผมเลือกใช้กล่องลูกฟูก 5 ชั้น มีการทดสอบหลังกล่องพิมพ์ หากมีการพิมพ์สีเต็มกล่องมีส่วนทำให้ความแข็งแรงลดลงไหม และยังบวก Safety Factor การทดสอบ BCT (Box Compression Test) ก่อนการผลิตจริง และทำ Sample lot ทดลองส่งจริง ผลก็ผ่าน เรื่องนี้มีการสืบหาสาเหตุจนพบว่า ช่วงรอยต่อระหว่างโรงงานผลิตและบรรจุลงกล่องลูกฟูกที่มีอุณหภูมิตามมาตรฐานคือติดลบมากกว่า 18 องศาเซลเซียส ทยอยกล่องที่บรรจุเสร็จมาที่รถตู้คอนเทนเนอร์ที่ระบบ Cold Chain ตามมาตรฐานเช่นกัน ตรงชานพักสินค้าไปยังตู้คอนเทนเนอร์มีการวางสินค้านานเกิน 30 นาที ทำให้กล่องมีอุณหภูมิสูงขึ้น ประกอบกับช่วงนั้นมีอากาศร้อนมาก ทำให้กล่องลูกฟูกได้รับความชื้นเกิน ความแข็งแรงจึงลดลง เมื่อนำไปเรียงในตู้คอนเทนเนอร์เต็มตู้ การรับแรงก็จะลดลง (อาจจะการเคลื่อนย้ายสินค้าไม่ได้ใช้ระบบ Palletizing ยังใช้ระบบ Manual อยู่) เมื่อมีการคำนวณ คิดวิเคราะห์บวก Safety Factor มาอย่างดี และยังมีการส่ง Sample Test ก็ยังพลาดได้ หากใช้ Spec กล่องที่แข็งแรงมากขึ้น ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ก็สูงขึ้น หลายรายจึงใช้ Over Spec ต้นทุนบรรจุภัณฑ์สูงขึ้นดีกว่าถูก Claim และเสียชื่อ แต่ปัจจุบันเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงมีส่วนสำคัญในการออกแบบและกำหนด Spec ให้ดีเหมาะสมทั้งการใช้งานและต้นทุน ตั้งแต่ขั้น Primary จนถึง Transportation

ผมมีประสบการณ์ตรงในการรับงานกล่องลูกฟูกบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องมือแพทย์ของบริษัทข้ามชาติที่มาตั้งฐานผลิตในไทยและต้องการลดต้นทุนหาผู้ผลิตในไทย (Local Content) จากปัจจุบันนำเข้าจากบริษัทแม่ ขนาดกล่องยาวถึง 1,200 มิลลิเมตร กว้าง 110 มิลลิเมตร สูง 20 มิลลิเมตร เป็น F Flute พิมพ์ 2 สี ฝาปิดเป็นแบบ Temper Proof Design (การออกแบบกล่องให้มีหลักฐานการงัดแงะ เปิดแล้วปิดเหมือนดังเดิมไม่ได้) Spec กระดาษลูกฟูก KS170/ CA125/ KT175 งานนี้เป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยากมาก ๆ เริ่มจากกระดาษลูกฟูก F Flute ในบ้านเรายังไม่นิยมใช้กันมากนัก จึงขอเสนอใช้ E Flute แทน รวมถึง Spec กระดาษต้องเทียบเคียงกับ Spec ที่มีอยู่ในไทย และทำ Sample lot ส่งทดสอบที่บริษัทแม่ เมื่อผ่านจะส่งต่อให้ลูกค้าระดับโลกทดสอบ ความซับซ้อนมีมาก คงต้องใช้เวลา 2-3 ปี สรุปโครงการนี้ไม่ผ่านครับ ยังคงนำเข้า ด้วยเวลา และอายุของผลิตภัณฑ์ Product Life คงหมดเวลาที่ต้องเปลี่ยนเป็น Version ใหม่

จะเห็นได้ว่าหลายอย่างมาตรฐานของไทยยังไม่ถึงระดับโลก ตั้งแต่วัตถุดิบเยื่อกระดาษที่นำมาใช้จนถึงกรรมวิธีการผลิต ทำให้สินค้าของไทยยังอยู่ในระดับกลาง ๆ ซึ่งต้องพัฒนาทั้งระบบไปให้ทัน ด้วยพื้นฐานทางอุตสาหกรรมตลอด 30 ปี ไทยเรายังเป็น OEM Base ที่ถดถอยลงไปเรื่อย ๆ

Glue less ในกล่องบรรจุภัณฑ์ลูกฟูก เป็นแนวทางที่ลดต้นทุน คือ ไม่มีการใช้กาว เทปกาว หรือ ลวด Max เย็บติดรอยต่อกระดาษ แต่ต้องใช้ประสบการณ์ในการออกแบบวิธียึดติดกันโดยใช้กระดาษล็อกกันเอง ขอเล่าตัวอย่างจากประสบการณ์งานจริง Fresh Egg Drop Protection Cushion การออกแบบกันกระแทกไข่ไก่สด เป็นกิจกรรมสนุก ๆ ของบริษัท คาเนะ แพคเกจ กรุ๊ป ที่ให้นักออกแบบบรรจุภัณฑ์แต่ละประเทศประมาณ 5-6 ประเทศ มาออกแบบ Fresh Egg Drop Protection Cushion แข่งขันกัน โจทย์คือออกแบบป้องกันไข่สด 1 ฟอง โดยใช้กระดาษลูกฟูกมาห่อหุ้มและเป็นระบบ Glue less แล้วโยนจากที่สูง 3 ระดับ 10 เมตร (จากหลังคา) 100 เมตร และ 200 เมตร (จากเฮลิคอปเปอร์) โดยไข่สดต้องไม่แตก ฟังแล้วสนุกไหมครับ ทีมนักออกแบบแต่ละประเทศก็ทดลอง ทดสอบหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่การเลือกวัสดุกระดาษลูกฟูก เยื่อเกรดกระดาษที่ใช้ ลอนกระดาษลูกฟูก แล้วมาออกแบบ Cushion มีกี่ชิ้น ต่อกันอย่างไร ป้องกันไข่อย่างไร (ไข่ไก่หมดไปหลายโหลเลยครับ)

(ขออนุญาตทางบริษัท คาเนะ แพคเกจ จำกัด มา ณ ที่นี้ ในการเผยแพร่กิจกรรมนี้ โดยไม่มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการเผยแผ่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ลูกฟูกที่ผมได้มีประสบการณ์มา)

ผมเคยพบและสนทนากับสุดยอดของนักออกแบบ Cushion ระดับโลก คุณโยชิคาซุ โอโคซากิ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ของบริษัทสุขภัณฑ์ระดับโลก TOTO BRAND ขอเชิญชวนอยากให้ท่านผู้อ่านได้ลองดู หาจากรายการดูให้รู้ เลือกตอนนักออกแบบขยะใน Youtube ของคุณฟูจิ ฟูจิซากิ จากรายการในไทยพีบีเอส และฉบับหน้าผมจะมาอธิบายเพิ่มเติม รวมถึงการเล่าเรื่อง Bag-in-Box บรรจุภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งและป้องกันสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อแนะนำ คำถาม ข้อสงสัย หรือมี Comment ยินดีครับ ติดต่อผมได้ที่อีเมล: chodnarinv@gmail.com

บทความของวารสารบรรจุภัณฑ์ไทยไม่ได้มีเพียงเท่านี้ พวกเรายังมีเรื่องราวที่น่าสนใจให้ติดตามในเล่มอีกเพียบ อ่านต่อกันได้ที่ >> E-BOOK #163

facebookShare on Facebook
TwitterTweet

Filed Under: Articles, Articles Tagged With: บรรจุภัณฑ์, packaging, อุ่นเล่าเรื่อง, วารสารบรรจุภัณฑ์ไทย, Structure Packaging, บรรจุภัณฑ์โครงสร้าง

Primary Sidebar

New E-Book

THAI PACKAGING NEWSLETTER #171 May-June 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #170 March-April 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #169 January-February 2025

  • Facebook

ADVERTISING

Footer

Exclusive Clients

Recent

  • เริ่มต้นสร้างแบรนด์บนบรรจุภัณฑ์อย่างไร: คู่มือสำหรับธุรกิจใหม่ (1) July 4, 2025
  • ปรับงานให้ปัง!!! ศิลปะการให้และรับ Feedback สำหรับนักออกแบบ July 2, 2025
  • มุ่งสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และขับเคลื่อนอนาคตของภูมิภาคเอเชียแป-ซิฟิก June 27, 2025
  • เอปสัน เปิดตัวเครื่องพิมพ์ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลและโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน June 27, 2025
  • “Future Food” เจาะลึกเทรนด์ ‘อาหารแห่งอนาคต’ พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำจากไต้หวัน June 27, 2025
  • เริ่มแล้ว! “สหกรุ๊ป แฟร์ & เฟส ครั้งที่ 29” มหกรรมช็อปคุ้ม ลดค่าครองชีพ ช็อปออนไซต์ที่ไบเทค ออนไลน์ที่ BIGXSHOW และ FRIDAY FAIR พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเอ็มโอยู 16 ดีลใหญ่ June 27, 2025
  • กรมวิทย์ฯ จัดสัมมนา การทำความเข้าใจและการพัฒนาแนวทางการจัดการปัญหาสาร PFAS ในประเทศไทย เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน June 26, 2025

Search

TECHNOLOGY MEDIA CO.,LTD.

471/3-4 Phayathai Place, Sri-Ayutthaya Road, Tung Phayathai Ratchatewi, Bangkok 10400

Tel. 0-2354-5333, 0-2644-4555

thaipackaging.mkt@gmail.com

Copyright © 2025 · Magazine Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in