โดย สุมาลี ทั่งพิทยกุล

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ ประชาคมอาเซียนเป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และบรูไน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงให้อาเซียนแข็งแกร่งมีภูมิต้านทานที่ดีในการรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ ระดับโลก
ประชาคมอาเซียน เปรียบกับการเป็นครอบครัวเดียวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 พร้อมกับมีการร่วมลงนามในปฏิญญาให้เป็นประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) พร้อมกับมีการแบ่งประชาคมย่อยออกเป็น 3 ประชาคม หรือ 3 เสาหลัก ได้แก่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community : APSC)
ㆍ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community AEC)
ㆍประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Asean Socio-Cultural Community : ASCC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คืออะไรหรือ AEC คืออะไร
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เนื่องจากสมาชิกอาเซียนเห็นว่า ปัจจุบันอาเซียนมีจำนวนประเทศ 10 ประเทศ ประชากรเกือบ 600 ล้านคน ดังนั้นถือว่าเป็นเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ จึงควรร่วมมือกันเพื่อทำให้อาเซียนมีความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เหตุนี้เอง อาเซียนจึงกลายสภาพเป็น AEC ในที่สุด โดยได้ก่อตั้ง AEC อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2558 เลื่อนเข้ามาจากเดิมคือ พ.ศ. 2563
อย่างไรก็ตาม อนาคตข้างหน้า AEC มีแนวโน้มขยายเป็น อาเซียน+3 คือ เพิ่ม จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก่อนที่จะเป็น อาเซียน+6 โดยเพิ่ม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย
AEC หรือ ASEAN Economics Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับคู่ค้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลกรวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี ในการดำเนินการดังกล่าว อาเซียนได้เลือกสินค้า 8 กลุ่มเป็นสินค้านำร่องที่จะยึดถือตามกฎระเบียบของอาเซียน ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปเป็น 1 ใน 8 ของสินค้าดังกล่าว ได้แก่
- ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า (Joint Sectorial Committee for AHEEERR)
- เครื่องสำอาง (ASEAN Committee on Cosmetic : ACC)
- ผลิตภัณฑ์ยา( Phamaceutical Product Working Group)
- อาหารสำเร็จรูป (Prepared Foodstuff Product Working Group)
- ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (Automative Product Working Group)
- ผลิตภัณฑ์จากยาง (Rubber-based Product Working Group)
- เครื่องมือทางการแพทย์ (Medical Device Product Working Group)
- ยาแผนโบราณและอาหารเสริมสุขภาพ (Traditional Medicine and Health Supplement Working Group)
โครงสร้างของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียน (AEM) ซึ่งประเทศไทยผู้แทนจะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ จากนั้นจะเป็นข้าราชการประจำระดับสูงคือ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (SEOM) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการของอาเซียนด้านมาตรฐานและคุณภาพ (ASEAN Consultative Comitte on Quality and Standard) ซึ่งประเทศไทยมีเลขาธิการสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งเลขาฯ สมอจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการใน ACCSQ โดยถ้าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจะให้ผู้แทนจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) คณะทำงานของสินค้า ทั้ง 8 กลุ่ม จะทำงานร่วมกันกับคณะทำงานอีก 3 กลุ่ม ได้แก่ คณะทำงานด้านฃการยอมรับร่วม (MRA) คณะทำงานด้านการตรวจสอบและรับรอง (Conformity Assessment) และคณะทำงานด้านมาตรวิทยา ตามรูป 1ที่แสดงไว้
ACCSQ Structure

คณะทำงานดังกล่าวข้างต้น จะประชุมปีละ 2 ครั้ง โดยมีประเทศเจ้าภาพเวียนกันตามตัวอักษร เป็นที่น่าเสียดายว่าใน พ.ศ. 2563 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจะจัดประชุมที่กรุงเทพฯ แต่เนื่องจาก สถานการณ์ไวรัสโคโรนาทำให้ต้องจัดประชุมออนไลน์เป็นครั้งแรก คณะทำงานด้านอาหารสำหรับรูป (PFP-WG) เห็นความสำคัญของ
วัสดุสัมผัสอาหารที่มีผลกระทบต่อคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารสำเร็จรูป จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องกฎระเบียบความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหารให้ประเทศสมาชิกของอาเซียนใน พ.ศ.2558 โดยมีวิทยากรจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ต่อจากนั้นสหภาพยุโรปได้สนับสนุนการทำงานของอาเซียนโดยโครงการ EU-ARISE ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ พ.ศ. 2560 เพื่อร่าง “ASEAN General Guidelines on Food Contact Materials and Articles” โดยมีเนื้อหาที่สำคัญคือ วัสดุสัมผัสอาหารต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและทำให้อาหารเสื่อมเสียรสชาติและให้คำจำกัดความของวัสดุสัมผัสอาหารกว้างกว่าที่กำหนดในพระราชบัญญัติอาหารของไทยซึ่งประเทศไทยควบคุมเฉพาะภาชนะบรรจุอาหารที่บรรจุอาหารเรียบร้อยแล้ว แต่ในความหมายของอาเซียนจะกว้างกว่าคือหมายถึงวัสดุสัมผัสอาหารที่ตั้งใจจะผลิตเพื่อบรรจุอาหารหรือมีเหตุผลที่วัสดุสัมผัสอาหารนั้นจะนำมาสัมผัสอาหาร เช่น ช้อน ส้อม เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสายพานลำเลียงอาหารในโรงงานผลิตอาหาร เป็นต้น และครอบคลุมวัสดุที่นำมาผลิตอาหาร 17 ประเภท ได้แก่ Active and Intelligent Materials and Articles,กาว (Adhesives), เซรามิก (Ceramics),ก๊อก (Cork), ยาง (Rubbers), แก้ว (Gass), Ion-exchange Resin, โลหะและอัลลอย (Metal and Alloys), กระดาษและกระดาษแข็ง (Paper and Board),พลาสติก (Plastics), หมึกพิมพ์ (Prining Inks), Regenerated Cellulose, ซิลิโคน(Silicone), ผ้า (Textiles), สารเคลือบ(Vanishes and Coating), Waxes ซึ่งวัสดุทั้ง 17 ประเภท เมื่อผลิตเป็นวัสดุอาหารต้องผลิตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตวัสดุสัมผัสอาหาร (Good Manufacturing Practice : GMP) ที่ประชุมคณะอาหารสำเร็จรูปได้ยอมรับร่างดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 27 ใน พ.ศ. 2560 และมีมติให้จัดทำ “ASEAN Guidelines for Good Manufacturing Practices for Food Contact Materials”ซึ่งที่ประชุมคณะอาหารสำเร็จรูปได้ยอมรับร่างดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 29 ใน พ.ศ. 2562 โดยหลักการของGMP คือการผลิตต้องมีระบบควบคุม คุณภาพและประกันคุณภาพเพื่อให้วัสดุสัมผัสอาหารปลอดภัย ใน พ.ศ. 2563 ประเทศไทยจะได้นำเสนอแผนการดำเนินงานในการร่างกฎระเบียบของวัสดุสัมผัสอาหารแต่ละชนิดต่อไป
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
1.ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า จากการยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่มิใช่ภาษีจะเปิดโอกาสให้สินค้าเคลื่อนย้ายเสรี
2.คาดว่า การส่งออกไทยไปอาเซียนจะสามารถขยายตัวได้ไม่ตํ่ากว่า 18-20% ต่อปี
3.เปิดโอกาสการค้าบริการ ในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยวโรงแรมและร้านอาหาร สุขภาพ ทำให้ไทยมีรายได้จากการค้าบริการไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น
4.สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรียิ่งขึ้นอุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียนจะลดลง อาเซียนจะเป็นเขตการลงทุนที่น่าสนใจทัดเทียมจีนและอินเดีย
5.เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใชทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage) และลดต้นทุนการผลิต
6.เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก สร้างความเชื่อมั่นให้ ประชาคมโลก
7.ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ผลการศึกษา แสดงว่า AEC จะทำให้รายได้ที่แท้จริงของอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 หรือคิดเป็นมูลค่า 69 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ผลกระทบของประเทศไทยจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
- การเปิดตลาดเสรีการค้าและบริการ ย่อมจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันตํ่า
- อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศต้องเร่งปรับตัว
ข้อสนอแนะในการเตรียมตัวของไทยสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
แนวทางที่ประเทศไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คือภาครัฐเองไม่ได้นิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกิจการ/อุตสาหกรรมที่ไม่มีความพร้อมในการแข่งขัน โดยแผนงานรองรับผลกระทบที่ได้มีการดำเนินงานมาแล้วได้แก่
- การจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าอุตสาหกรรม และบริการ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าให้สามารถปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนให้สามารถแข่งขันได้
- มาตรการป้องกันผลกระทบ ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอจัดทำกฎหมายซึ่งได้ผ่านสภานิติบัญญัติออกมาเป็น พ.ร.บ. มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) ซึ่งหากการดำเนินการตาม AEC Blueprint ก่อให้เกิดผลกระทบก็สามารถนำกฎหมายนี้มาใช้ได้
- การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน