• Skip to main content
  • Skip to secondary menu
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to footer
Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

  • Home
  • Activity
    • News
    • Events
  • Articles
    • Articles
    • Intrend
    • Focus
    • Special Scoop
    • Special Area
    • เรื่องเล่าคนทำกล่อง
  • E-Book
  • E-Directory
  • About Us
  • Advertise
  • Contact Us

เพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าอัตโนมัติด้วยระบบไอทีมอนิเตอริ่งที่มีประสิทธิภาพ โดย Paessler

January 5, 2024 by Chatticha

เพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าอัตโนมัติด้วยระบบไอทีมอนิเตอริ่งที่มีประสิทธิภาพ โดย เฟลิกซ์ เบิร์นดท์ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Paessler

ในปี 2566 คลังสินค้าของไทยมีมีแนวโน้มความต้องการใช้พื้นที่อยู่ที่ 5.8 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้น 7.0% จากปี 2565 โดยมีอัตราการเช่าพื้นที่อยู่ที่ระดับ 86.0% และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในปี 2567 ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิต การส่งออก และการเติบโตของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ

โดยที่ผ่านมาคลังสินค้าในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากยุคใช้แรงงาน มาสู่ยุคใช้เครื่องจักรในการช่วยทำงาน และก้าวเข้ายุคคลังสินค้าอัตโนมัติในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพิ่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความแม่นยำ และลดต้นทุนแรงงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น

ระบบอัตโนมัติของคลังสินค้ากลายเป็นส่วนสำคัญของคลังสินค้ายุคใหม่ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับกระบวนการผลิต ตั้งแต่ระบบการจัดวางอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ ไปถึงการดึงสินค้าอัตโนมัติ คลังสินค้ากำลังก้าวสู่ระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ แม้คลังสินค้าจะมากไปด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เทคโนโลยีปฏิบัติการ (OT) เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์ที่ช่วยดำเนินการ แต่คลังสินค้าอัตโนมัติยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการรวมเทคโนโลยีเหล่านั้นให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการทั้งหมดนั้นจะสามารถทำงานอัตโนมัติได้อย่างไม่มีขาดตกบกพร่อง รวมถึงระบบที่ช่วยติดตามตรวจสอบกระบวนการอัตโนมัติว่ากำลังทำงานอยู่ โดยเฉพาะการรวมศูนย์ข้อมูลในคลังสินค้าและรายงานบนจอเดียว เพื่อให้แน่ใจได้ว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในสถานะที่ดีอยู่เสมอ

องค์ประกอบสำคัญของระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

  1. อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ได้แก่ อุปกรณ์มาตรฐานของเครือข่ายและระบบ รวมถึงคอมพิวเตอร์ เซิฟเวอร์ อุปกรณ์เครือข่าย รวมถึงสวิตช์ เราทเตอร์ ไฟร์วอลล์ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ
  2. ระบบการจัดการคลังสินค้า (WMS) ซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการคลังสินค้า สินค้าคงคลัง ห่วงโซ่อุปทาน และซอฟต์แวร์ควบคุมคลังสินค้า
  3. อุปกรณ์เทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์สำหรับตรวจสอบและควบคุมสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรม รวมถึงอุปกรณ์พิเศษต่างๆ เช่น PLC (Programmable logic controllers)) คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม เครื่องจักร หุ่นยนต์ ยานพาหนะ ระบบ SCADA และระบบ DCS (Distributed Control Systems)

แม้การทำงานในพื้นที่คลังสินค้าอัตโนมัติอาจจะเชื่อมถึงกัน (เช่น ระบบการจัดการคลังสินค้าที่ทำงานบนเครือข่ายไอที) แต่แต่ละพื้นที่ทำงานแยกกัน ซึ่งเมื่อพูดถึงการตรวจสอบ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยทีมในการตรวจสอบว่าคลังสินค้าทำงานได้ตามเป้าหรือไม่ ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมจึงต้องมีการมอนิเตอร์แบบองค์รวม ที่รวบรวมข้อมูลที่ต้องตรวจสอบทั้งหมดไว้บนแดชบอร์ดเดียวกัน

ทำให้การตรวจสอบแบบองค์รวมเป็นจริง
เช่นกันกับโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักรและมอเตอร์มีบทบาทสำคัญในระบบอัตโนมัติของคลังสินค้า เมื่อมอเตอร์บนสายพานลำเลียงหรือหุ่นยนต์หยิบสินค้าอัตโนมัติ และในการผลิต การตรวจสอบสภาพของเครื่องจักรเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันการหยุดทำงานของเครื่องโดยไม่จำเป็น การมอนิเตอริ่งเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนโดย Paessler PRTG มีประโยชน์อย่างมากในเรื่องนี้ เพราะต้องตรวจวัดข้อมูลด้วยเซ็นเซอร์ IIoT แล้วเปรียบเทียบข้อมูลนั้นกับแนวโน้มในอดีตและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อคาดการณ์ว่าจะต้องเข้าซ่อมบำรุงเครื่องจักรเมื่อใด

ระบบอัตโนมัติในคลังสินค้ามีความจำเป็นที่ต้องอาศัยเครือข่ายในการสื่อสาร และคลังสินค้าสมัยใหม่มักใช้เครือข่ายไร้สาย และการตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครือข่ายเหล่านี้ทำงานได้ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับระบบอัตโนมัติ

ที่สำคัญที่สุด ผู้ผู้ดูแลระบบไอทีสามารถตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายไร้สายได้ (เช่น เราทเตอร์ สวิตช์ อุปกรณ์ปลายทางและอื่น ๆ ) โดยใช้ฟังก์ชันทั่วไป เช่น SNMP หรือ REST APIs และยังสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้

เป้าหมายโดยรวมคือนำข้อมูลการตรวจสอบทั้งหมดมารวมที่ PRTG เพื่อให้ได้ภาพรวมเดียวของทั้งหมด ด้วยวิธีการนี้ทีมไอทีสามารถมอนิเตอร์ความสมบูรณ์ของเครือข่ายและส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีความสำคัญในระบบคลังสินค้าอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็วในที่เดียว รวมถึงยังสามารถกำหนดค่าเพื่อแจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบ

หากมีคลังสินค้าในหลายสถานที่ สิ่งสำคัญคือต้องรวบรวมข้อมูลการตรวจสอบจากแต่ละแห่งไว้ในแดชบอร์ดเดียวกัน เพื่อสามารถตรวจสอบสภาพและสถานะของคลังสินค้าแต่ละแห่งได้ทันที ซึ่งสามารถทำได้โดยการติดตั้งเครื่องมือกระจายการมอนิเตอร์ (Remote Probe) ในคลังสินค้าแต่ละแห่ง ที่สามารถส่งข้อมูลการมอนิเตอร์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ PRTG เพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดยังคงรวมอยู่ในที่เดียวกัน

Paessler PRTG ยังทำให้ระบบอัตโนมัติของคลังสินค้าง่ายขึ้นโดยการให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับสถานะของระบบอัตโนมัติของคลังสินค้า ช่วยให้ระบุและแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น PRTG สามารถตรวจสอบอุปกรณ์และระบบได้หลากหลาย รวมถึง IT, OT และโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย

facebookShare on Facebook
TwitterTweet

Filed Under: Activity, News Tagged With: คลังสินค้า, เทคโนโลยีระบบคลังสินค้า, Paessler

Primary Sidebar

New E-Book

THAI PACKAGING NEWSLETTER #171 May-June 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #170 March-April 2025

THAI PACKAGING NEWSLETTER #169 January-February 2025

  • Facebook

ADVERTISING

Footer

Exclusive Clients

Recent

  • “BGC” จับมือ “สวอนอินดัสทรี่ส์” เสริมศักยภาพธุรกิจแพคเกจจิ้งครบวงจร เปิดเกมรุกผนึกฐานลูกค้า July 11, 2025
  • Aluminium Loop ร่วมกับ Green2Get – ลุงซาเล้งฯ ทำแคมเปญ “Can Heroes: ฮีโร่กระป๋องรักษ์โลก” July 11, 2025
  • “โคคา-โคล่า” ชวนผู้บริโภคร่วมโครงการ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ปีที่ 5 ลุ้นรางวัลกว่า 2 ล้านบาท July 9, 2025
  • วว. จับมือ NEO นำ วทน. ขับเคลื่อนเครือข่ายจัดการขยะแบบองค์รวม มุ่งลดปัญหาสิ่งแวดล้อม July 8, 2025
  • พันธมิตรหนุน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ขยายงาน ProPak Asia สู่ระดับโลก ล่าสุดประกาศย้ายงานฯ ไป อิมแพ็ค เมืองทองธานี July 7, 2025
  • เริ่มต้นสร้างแบรนด์บนบรรจุภัณฑ์อย่างไร: คู่มือสำหรับธุรกิจใหม่ (1) July 4, 2025
  • ปรับงานให้ปัง!!! ศิลปะการให้และรับ Feedback สำหรับนักออกแบบ July 2, 2025

Search

TECHNOLOGY MEDIA CO.,LTD.

471/3-4 Phayathai Place, Sri-Ayutthaya Road, Tung Phayathai Ratchatewi, Bangkok 10400

Tel. 0-2354-5333, 0-2644-4555

thaipackaging.mkt@gmail.com

Copyright © 2025 · Magazine Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in