• Skip to main content
  • Skip to secondary menu
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to footer
Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

Thai Pack Magazine

  • Home
  • Activity
    • News
    • Events
  • Articles
    • Articles
    • Intrend
    • Focus
    • Special Scoop
    • Special Area
    • เรื่องเล่าคนทำกล่อง
  • E-Book
  • E-Directory
  • About Us
  • Advertise
  • Contact Us

ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้ในสวน ‘วช.’ ดันผลิตภัณฑ์กาบหมากใช้แทนภาชนะโฟม–พลาสติก

May 30, 2023 by rachanon muksiksawat

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ได้มอบหมายให้กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ นำคณะสื่อมวลชน ติดตามผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการวิจัย “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟม” ของ ดร.ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้ทุนท้าทายไทยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม จาก วช. ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลท่าอุแท อำเภอเมืองกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ดร.ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า โลกกำลังเผชิญปัญหาวิกฤติจากขยะพลาสติกสังเคราะห์ เช่นเดียวกับประเทศไทยกำลังมีปัญหาขยะท่วมเมือง โดยเฉพาะขยะจากบรรจุภัณฑ์ ถุง ภาชนะของใช้พลาสติกนานาชนิดทำให้ประเทศไทยมีขยะในทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ สัตว์ทะเล และห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ ซึ่งหากมองไปที่กระแสทั่วโลกก็กำลังให้ความสำคัญกับการลดขยะพลาสติกที่กำลังคุกคามสิ่งแวดล้อมโลก ดังที่หลายประเทศได้ประกาศยกเลิกการผลิตถุงพลาสติก และอุปกรณ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง จึงได้เริ่มศึกษาความต้องการของตลาดภาชนะที่ย่อยสลายได้ง่าย พบว่า น่าจับตามอง และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ดร.ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

นอกจากนี้รัฐบาลหลายประเทศโดยเฉพาะสหภาพยุโรปต่างก็สนับสนุนให้ภาคเอกชนขยายการผลิตวัสดุชีวภาพ แทนพลาสติกสังเคราะห์ “ทำไมถึงเลือกกากหมาก เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการปลูกหมากเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวเฉพาะผลหมากมาจำหน่าย หรือแปรรูปทำหมากแห้งส่วนกาบหมากก็จะทิ้งไว้ในสวน ทั้งนี้หากนำกาบหมากมาทำผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายก็จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น ประจวบกับในสภาวะปัจจุบันราคาพืชผลทางการเกษตรมีราคาต่ำลงมาทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง” ดร.ธวัชไชย กล่าวต่อ

จากปัญหาดังกล่าว จึงนำกาบหมากมาทำผลิตภัณฑ์แทนโฟม โดยเริ่มจากการนำกาบหมากมาตัดแต่งให้ได้ขนาด ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำด่างทับทิม และนำไปอัดขึ้นรูปด้วยเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมาก ที่ปรับตั้งค่าอุณหภูมิไว้ที่ 100 องศาเซลเชียส เพื่อฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย และการคงรูปทำให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ จุดเด่นของภาชนะจากกาบหมากทำจากวัสดุธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ ปราศจากสารเคมีและการฟอกสี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่แตกหักง่าย น้ำหนักเบา ใส่อาหารได้ทุกเมนู ใส่ของเหลวได้ เข้าเตาไมโครเวฟได้ ไม่อ่อนตัว ทนความร้อนได้ดี มีกลิ่นหอม และสามารถสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ย่อยสลายได้เอง 45 วัน และจากการสำรวจความต้องการของลูกค้าในประเทศไทยมีความต้องการถึง 5 แสนชิ้นต่อเดือน แต่กำลังการผลิตสามารถผลิตได้เพียงเดือนละ 5 หมื่นชิ้น แสดงว่าความต้องการยังมีในปริมาณสูง

ทั้งนี้ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงช่องทางสร้างรายได้ให้กับชุมชน จึงลงพื้นที่นำเทคโนโลยีไปถ่ายทอดองค์ความรู้ และนำเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน โดยการพัฒนาเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมาก 2 แบบ คือแบบจานเหลี่ยมขนาด 6 นิ้ว x 7 นิ้ว และแบบถ้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว โดยไม่ต้องถอดแม่พิมพ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว ทั้งนี้ได้มอบให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลท่าอุแท อำเภอเมืองกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ใช้ในการประกอบอาชีพ เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมาก ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนจำนวนมาก นำมาผลิตทดแทนภาชนะที่ทำจากโฟมเป็นการลดมลภาวะที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

ขณะที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลท่าอุแท อำเภอเมืองกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ จะได้นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับเกษตรในชุมชน ตั้งแต่การปลูกหมาก การจำหน่ายกาบหมากสู่กระบวนการผลิต และการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความอยู่ดีกินดีของสมาชิกกลุ่ม และของพี่น้องเกษตรกรตำบลอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ อย่างยั่งยืนต่อไป

นายธเนศ ศรีรุ่งเรือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าอุแท กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ วช. นำเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ มามอบให้ ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากการปลูกสวนยาง ปาล์มน้ำมัน และทุเรียน ด้วย

ด้าน นางสาวอัญชลี บารมีรุ่งเรือง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ได้เข้ามาส่งเสริมอาชีพเสริมการทำการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ทำให้เกษตรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอยากให้ภาครัฐ และภาคเอกชนหันมาอุดหนุนผลิตภัณฑ์ฯ เพิ่มขึ้น

ข้อมูลและภาพจาก : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

facebookShare on Facebook
TwitterTweet

Filed Under: Activity, News Tagged With: เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์, วช., สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, กาบหมาก

Primary Sidebar

New E-Book

THAI PACKAGING NEWSLETTER #161 September-October 2023

THAI PACKAGING NEWSLETTER #160 July-August 2023

THAI PACKAGING NEWSLETTER #159 May-June 2023

  • Facebook

ADVERTISING

Footer

Exclusive Clients

Recent

  • เปิดฉากมหกรรม T-PLAS 2023 สร้างแบรนด์ยั่งยืนเศรษฐกิจหมุนเวียน โชว์ผลิตสินค้ารีไซเคิล 100% September 21, 2023
  • ไซเบอร์ เอสเอ็ม จัดสัมมนา Horizon Day หัวข้อระบบอัตโนมัติงานผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ September 21, 2023
  • มิตรผล เปิดตัวบรรจุภัณฑ์ขวดน้ำตาลดีไซน์ใหม่ ภายใต้แนวคิด 3 ดี สไตล์มินิมอล September 21, 2023
  • เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เปิดมหกรรม PACK PRINT 2023 ขับเคลื่อนอุตฯ การพิมพ์-บรรจุภัณฑ์ September 21, 2023
  • เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ ส่ง 4 มหกรรมสินค้านวัตกรรม ร่วมงาน wire & Tube – GIFA & METEC September 21, 2023
  • ประธานสภาอุตฯ เผยธุรกิจการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ปี 66 ฟื้น คาดโตอีก 10% ในปี 67 September 21, 2023
  • เริ่มแล้วงาน PACK PRINT INTERNATIONAL 2023 เปิดโลกอนาคตแห่งนวัตกรรมสุดล้ำ ณ ไบเทค บางนา September 20, 2023

Search

TECHNOLOGY MEDIA CO.,LTD.

471/3-4 Phayathai Place, Sri-Ayutthaya Road, Tung Phayathai Ratchatewi, Bangkok 10400

Tel. 0-2354-5333, 0-2644-4555

thaipackaging.mkt@gmail.com

Copyright © 2023 · Magazine Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in