สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวพันธมิตรใหม่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในการร่วมสนับสนุน โครงการสเปซ-เอฟ รุ่นที่ 2 ซึ่งถือเป็น โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ขับเคลื่อนโดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนชั้นนำของประเทศ เพื่อสนับสนุนสตาร์ตอัปในการสร้างนวัตกรรมอาหารที่ผสานเทคโนโลยีขั้นสูงในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนตอบโจทย์ห่วงโซ่อุปทานอาหารของโลกที่ต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีความปลอดภัยในยุคโควิด-19 นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจาก บริษัท เบทาโกร จำกัด และบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เสริมทัพสนับสนุน และพร้อมเดินหน้ายกระดับกรุงเทพฯ จาก “ฟู้ดพาราไดส์” ให้กลายเป็น “แบงค์คอกฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์” โครงการ “สเปซ-เอฟ” เป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ขับเคลื่อน
โดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนชั้นนำของประเทศ เพื่อสนับสนุนสตาร์ตอัปในการสร้างนวัตกรรมอาหารที่ผสานเทคโนโลยีขั้นสูงในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นพัฒนาใน 9 เทรนด์หลัก ได้แก่การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ การผลิตโปรตีนทางเลือก กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต การคิดค้นส่วนผสมและสูตรอาหารใหม่ ๆ การพัฒนาวัสดุชีวภาพและสารเคมี เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร และบริการอัจฉริยะด้านอาหาร
การจัดกิจกรรมครั้งนี้นับเป็นรุ่นที่ 2 ซึ่งนอกจากจะมีพันธมิตรเดิมที่เข้มแข็งอย่างบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ปจำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว ยังได้ 3 พันธมิตรใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยบริษัท เบทาโกร จำกัด และ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เพื่อเสริมทัพเป็นกำลังสำคัญในการสร้างให้เกิดการยอมรับในระดับสากลในด้านการพัฒนาและการลงทุนด้านนวัตกรรมอาหาร
สำหรับวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการสเปซ-เอฟ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ
- ต้องการสร้างผู้ประกอบการด้านอาหารในประเทศให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการด้านอาหารในประเทศมีจำนวนน้อยมาก
- ดึงสตาร์ตอัปในต่างประเทศเข้ามาในโครงการ เพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยได้เรียนรู้แนวทางการทำ งาน การขอทุนรวมทั้งการประสานงานกับนักลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารของสตาร์ตอัปในลำดับต่อไป
- เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครให้กลายเป็น “แบงค์คอก ฟู้ด เทคซิลิคอนวัลเลย์”

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ผู้อำ นวยการสำ นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่านวัตกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ที่ผ่านมา ถือเป็นโอกาสดีของการพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์การดำเนินวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ซึ่งจากจุดแข็งด้านอุตสาหกรรมอาหารของไทยที่ถูกขนานนามว่าเป็น “ครัวของโลก” ทำให้ NIA เห็นโอกาสสร้างการเติบโตให้กับสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีอาหารให้มีศักยภาพทัดเทียมต่างประเทศ โดยอาศัยกลไกการสนับสนุนที่จำเพาะ เป็นรูปธรรม และมีการเชื่อมโยงความร่วมมือกับผู้เล่นที่สำคัญในระบบนิเวศ เพื่อให้สตาร์ตอัปเข้าถึงปัจจัยที่จำเป็น ได้แก่ แหล่งเงินทุนตลาด ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และบุคลากรที่มีศักยภาพ จึงได้ร่วมกับพันธมิตรริ่เริมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย หรือ “สเปซ-เอฟ” ขึ้น โดยปีนี้จัดเป็นรุ่นที่ 2 ซึ่งในครั้งนี้นอกจากจะมีพันธมิตรเดิมที่เข้มแข็งอย่างบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว ยังได้ 3 พันธมิตรใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย บริษัท เบทาโกร จำกัด และ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เพื่อร่วมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างให้เกิดการยอมรับในระดับสากลในด้านการพัฒนาและการลงทุนด้านนวัตกรรมอาหาร
ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปีนี้เป็นปีที่ 2 ของโครงการสเปซ-เอฟ ที่ไทยยูเนี่ยนได้ก่อตั้งขึ้นร่วมกับภาครัฐ นับเป็นปีที่อุตสาหกรรมอาหารต้องเผชิญความท้าทายหลายประการจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ทั่วโลกต้องปรับตัวเข้ากับ New Normalรวมถึงการผลิตอาหารด้วยความยั่งยืนและนำนวัตกรรมเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของประชากรโลกที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นวัตกรรมและกระบวนการใหม่ ๆ รวมถึงความปลอดภัยในการผลิตอาหารจะมีความสำคัญยิ่งขึ้น นับเป็นเวลาที่ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่และสตาร์ตอัปรุ่นใหม่ที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วต้องร่วมมือกันไทยยูเนี่ยนมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง สเปซ-เอฟและขอต้อนรับภาคเอกชนที่ปีนี้ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นฟุ้ด เทคซิลิคอนวัลเลย์ ตลอดจนพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารให้ยั่งยืนต่อไป”
ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการสเปซ-เอฟ เป็นโครงการที่เป็นศูนย์รวมให้องค์กรต่าง ๆ ได้เข้ามาแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และการสนับสนุนด้านการเงิน ไทยเบฟมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสเปซ-เอฟ เพื่อผลักดันให้เกิโความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ไทยเบฟได้ดำเนินธุรกิจโดยนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการขององค์การสหประชาชาติมาปรับใช้เป็นแนวทางกำหนดเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่ 3:การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และเป้าหมายที่ 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนการเข้าร่วมโครงการสเปซ-เอฟในครั้งนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสที่ดีให้ไทยเบฟได้ทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนที่แข็งแกร่ง ที่จะทำให้ไทยเบฟบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ศ. นพ.บรรจง มไหสวริยะอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีแผนชัดเจนที่เป็นรูปธรรมในการส่งเสริมนวัตกรรมผ่านสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรม ทั้งไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป และไทยเบฟนับเป็นองค์กรธุรกิจที่ได้รับการยอมรับในระดับแนวหน้าพร้อมทั้งการสนับสนุนด้านวิชาการและผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ผนึกกำลังร่วมผลักดันโครงการ SPACE-F ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ที่เน้นส่งเสริมสตาร์ต อัปด้านนวัตกรรมอาหารและการจัดการธุรกิจอาหารโครงการนี้จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายสูงสุดของประเทศในการก้าวขึ้นสู่การเป็นฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์ด้านเทคโนโลยีอาหารแห่งแรกของประเทศไทยที่มีเครือข่ายระดับโลก และเป็นโครงการสำคัญที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จสู่ระดับนานาชาติได้ นอกจากช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจจากฐานรากด้านเกษตรและอาหารที่มั่นคงของประเทศไทยแล้ว โครงการ SPACE-F ยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการนำองค์ความรู้เชิงวิชาการและงานวิจัยที่สั่งสมในองค์กรมาใช้ ทั้งยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาและบุคลากรรุ่นใหม่ของประเทศได้เป็นอย่างดี มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะผู้ร่วมโครงการ จึงยินดีสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและการวิจัย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาที่พร้อมให้คำปรึกษา เพื่อให้ผู้ประกอบการสตาร์ต อัปที่เข้าร่วมในโครงการฯ เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการ SPACE-F คือการประสานพลังของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับธุรกิจ ที่จะช่วยนำไปสู่ความสำเร็จของอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก”
Source : THAI PACKAGING NEWSLETTER #143 September-October 2020 : Page 68